Way of Spirit| 3 page 2

คำขวัญ


"เมื่อโยเซฟและพระนางมารีย์เห็นพระองค์ก็รู้สึกแปลกใจพระมารดาจึงตรัสถามพระองค์ว่า 'ลูกเอ๋ยทำไมจึง ทำกับเราเช่นนี้ ดูซิ พ่อกับแม่ต้องกังวลใจตามหาลูก'พระองค์ตรัสตอบว่า 'พ่อกับแม่ตามหาลูกทำไม พ่อแม่ไม่รู้หรือว่าลูก ต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก'โยเซฟและมารีย์ไม่เข้าใจ ที่พระองค์ตรัส พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเรธกับ บิดามารดาและเชื่อฟังท่านทั้งสองพระมารดาทรงเก็บเรื่อง ทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัยพระเยซูเจ้าทรงเจริญขึ้นทั้งใน พระปรีชาญาณ พระชนมายุและพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าและต่อหน้ามนุษย์"(ลก 2,48-52)

ในโอกาสครบรอบ 150 ปีแห่งความตายของคุณแม่มาร์เกริตาซึ่งเป็นแม่ของครอบครัวแห่งการอบรมที่คุณพ่อบอสโกได้ตั้งขึ้นที่ Valdocco เราอยากจะฟื้นฟูพันธะที่จะ



ให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ครอบครัวซึ่งเป็น

ดังเปลแห่งชีวิตและความรัก

และเป็นสถานที่สำคัญอันดับแรกแห่งการเป็นมนุษย์



คำอธิบาย


1.เนื้อหาของคำขวัญปีนี้พึงเริ่มต้นจากประสบการณ์ที่ดีของชีวิตครอบครัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมซาเลเซียนและมุ่งไปสู่ "ครอบครัวปัจจุบันนี้" ซึ่งเป็นพันธกิจของเรา อันจะทำให้ประสบการณ์แห่งพระพรพิเศษที่ใช้ในการดำ-เนินชีวิตที่ผ่าน มากลับกลายเป็นความเป็นจริงในปัจจุบันและสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการอบรมและการอภิบาลเพื่อยังประโยชน์ให้แก่เยาวชนและสังคมตลอดไป


2.คุณแม่มาร์เกริตาเป็นบุคคลที่ครอบครัวซาเลเซียนรัก ชื่นชม และให้ความเคารพมาโดยตลอด พร้อมกันนี้ ทุกคนรอคอยการแต่งตั้งคุณแม่เป็นบุญราศีด้วยใจจดใจจ่อ ในโอกาสครบรอบ 150 ปีแห่งความตายของคุณแม่จึงเป็นเวลาเหมาะสมที่เราจะรู้จักคุณแม่มากขึ้น


3.โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบทบาทที่คุณแม่ได้อบรมคุณพ่อบอสโกทั้งในด้านมนุษย์และด้านคริสตชน พร้อมกันนั้นคุณแม่ยังมีส่วนในการสร้างบรรยากาศแห่งการอบรมที่ Valdocco

ด้วยในหนังสือชีวประวัติของคุณพ่อบอสโกที่ G.Jergensen เขียนและตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ SEI ผู้เขียน เริ่มต้นด้วยประโยค "ตั้งแต่ปฐมกาลมีแม่ผู้หนึ่ง"


4. การอยู่ที่คุณแม่มาร์เกริตาอยู่ที่ Valdocco ก่อให้เกิดบรรยากาศครอบครัว "การที่คุณแม่มาร์เกริตาย้ายมาอยู่ที่ Valdocco ถือได้ว่าเป็นวีรกรรมอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เกิดความเป็นครอบครัวสำหรับเด็กยากจน และเป็นที่มาของสาระแห่งระบบการอบรมแบบป้องกันและธรรมเนียมหลายอย่างของคณะ คุณพ่อบอสโกเรียนรู้จากประสบการณ์ว่า คุณพ่อได้รับการอบรมด้านบุคลิกในบรรยากาศแห่งการอุทิศตน และความใจดี (การมอบตน) ที่อบอวลอยู่ในครอบครัวของคุณพ่อ ที่เมือง Becchi คุณพ่อจึงอยากจะให้มีบรรยากาศเช่นนี้ในศูนย์เยาวชนแห่ง Valdocco สำหรับเยาวชนที่ยากจนและถูกทอด-ทิ้ง"(D.E. Vigano', In the year of the family ,AGC 349,

มิถุนายน,1994, หน้า 29-30)


5. ดังนั้น เราถือว่า ก่อนอื่นหมด "ครอบครัว" เป็นประสบการณ์แห่งพระพรพิเศษ แล้วนั้น "ครอบครัว" จึงเป็นสนามงาน หรืออีกนัยหนึ่ง ครอบครัวเป็นประสบการณ์แห่งชีวิตก่อน แล้วจึงเป็นงานแพร่ธรรม ครอบครัวเป็นพันธกิจ เพราะการอบรมเยาวชนไม่อาจจะแยกออกมาจากครอบครัวได้"พลังผลักดันแห่งกระแสเรียกซาเลเซียนมุ่งไปสู่ผู้ยากจนและต่ำต้อย พวกเขาต้องการครอบครัว เพราะเหตุนี้เอง คุณพ่อบอสโกจึงค้นพบรูปแบบใหม่ของการอบรม กล่าวคือ การอบรมด้วยความใจดีในบรรยากาศครอบครัวที่เป็นสุขและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน"(D. Vigano', The Challenge of Synod 80, AGC 299,มกราคม-มีนาคม 1981 หน้า 27)


6. ในช่วงเริ่มต้นสหัสวรรษที่สาม พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ทรงกำหนดให้ครอบครัวเป็นอันดับแรกในแผนอภิบาลของพระศาสนจักร "ในช่วงประวัติศาสตร์ปัจจุบันเราต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่งานอภิบาลครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสถาบันครอบครัวกำลังพบกับวิกฤตอย่างหนัก... เราต้องทำให้เห็นว่า โดยทางการอบรมด้านพระวรสารที่เข้มข้นครอบครัวคริสตชนสามารถแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถดำเนินชีวิตแต่งงานอย่างเต็มเปี่ยมตามแผนการของพระเจ้าได้ พร้อมกันนั้นก็สามารถทำดีให้แก่มนุษยชาติ คู่บ่าวสาว และเด็ก ซึ่ง

กำลังอยู่ในสภาพเปราะบางได้ด้วย" (NMI,47)


7.พระสันตะปาปาเบเนดิกที่ 16 ทรงให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก "ในงานอภิบาลของเรานั้น สิ่งเรียกร้องความสนใจมากกว่าหมดคือครอบครัว ครอบครัวเป็นเซลล์พื้นฐานของสังคม ครอบครัวลงรากลึกในจิตใจของชนรุ่นใหม่ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในเวลาเดียวกันครอบครัวก็เป็นแรงสนับสนุนและให้การเยียวยาสถานการณ์สังคมซึ่งดูจะสิ้นหวัง กระนั้นก็ดี

ครอบครัวในบริบทแห่งวัฒนธรรมปัจจุบันต้องพบกับความเสี่ยงและการคุกคามหลายรูปแบบ ซึ่งเราแต่ละคนรู้ดี นอกนั้นความเปราะบางและความไม่มั่นคงของความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาบวกกับแนวโน้มด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่ยอมรับลักษณะจำเพาะและพันธะกิจของครอบครัวที่มีพื้นฐานอยู่ในการแต่งงาน ทำให้สถานการณ์ของครอบครัวเลวร้ายลงไปอีก "(สภาสังฆราชแห่งประเทศอิตาลีเข้าเฝ้า วันที่ 30-31พฤษภาคม 2005, หน้า 5)


8. ในแถลงการณ์แห่งพันธะกิจร่วมกันของครอบครัว ซาเลเซียน ได้มีการพูดถึงครอบครัวว่า "สมาชิกครอบครัว ซาเลเซียน ทั้งที่เป็นฆราวาสและนักบวช จะถือเป็นพันธะพิเศษในการให้ศักดิ์ศรีแก่ครอบครัวและร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับครอบครัว เพื่อทำให้ครอบครัวเป็น "วัดน้อย" อย่างเด่นชัดมากขึ้น (ข้อ 17 และ 18)


9.นอกนั้น ปี 2006 เป็นการครบรอบ 25 ปีของพระ สมณสาร "Familiaris Consortio" ซึ่งเป็นโอกาสที่เราจะทุ่มเทเพื่องานอภิบาลครอบครัวเป็นพิเศษ


ถ้าวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่า กระแส ที่ให้ความสำคัญแก่โลกนี้อย่างเดียว ส่งผลกระทบถึงครอบครัวโดยตรงในหลายประเทศ ก่อให้เกิดความสับสนในธรรมชาติ

ของครอบครัวและบทบาทที่ครอบครัวต้องทำในสังคม กระแสดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการอบรมในครอบครัว เพราะผลสัมฤทธิ์ของการอบรมขึ้นอยู่กับบรรยากาศในครอบครัว ซึ่งเป็นโรงเรียนแรกแห่งการอบรมและเรียนรู้คุณค่ามนุษย์สำหรับเด็ก


ทุกวันนี้มีการพูดถึงรูปแบบครอบครัวที่แตกต่างกันออกไป แต่ละรูปแบบก็อ้างถึงสิทธิ์เท่าเทียมกัน ลยทำให้ไม่มีรูปแบบครอบครัวที่แท้จริงและหนึ่งเดียวเพื่อการอ้างอิงอีกต่อไป

แล้ว แต่ละรูปแบบจึงขึ้นอยู่การเลือกของแต่ละบุคคล พร้อมกันนั้น ก็มีการจัดรูปแบบอื่นขึ้นมาแทนที่ครอบครัวตามที่แต่ละคนต้องการ อาทิ การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน ที่เรียกร้องให้มีการอุปการะเด็กมาเลี้ยงดูเป็นลูก มีการหย่าร้างที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น การสามารถเลือกความตายแบบการุญฆาตอิสรภาพในการทดลองกับตัวอ่อนของมนุษย์ เป็นต้น


เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ของครอบครัวปัจจุบันนี้ เราอดไม่ได้ที่จะย้อนกลับไปถึงคำสอนของพระเยซูเจ้า เกี่ยว-กับการแต่งงานและชีวิตครอบครัว ดังที่มีบันทึกไว้ในพระวรสารของนักบุญมารโกและนักบุญมิทธิว "ชาวฟารีสีบางคนทูลถามหวังจะจัดผิดพระองค์ว่า 'เป็นการถูกต้องหรือไม่ที่ชายจะหย่ากับภรรยา' พระองค์ตรัสตอบว่า 'โมเสสได้บัญญัติไว้ว่าอย่างไร' เขาทูลตอบว่า 'โมเสสอนุญาตให้ทำหนังสือหย่าร้างและหย่ากันได้' พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า 'เพราะใจดื้อหยาบกระด้างของท่าน โมเสสจึงได้เขียนบัญญัติข้อนี้ไว้ แต่เมื่อแรกสร้างโลกนั้น พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง ดังนั้น ชายจะละบิดามารดา และชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนี้ เขาจะไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้มนุษย์อย่าแยกเลย'" (มก 10,2-9)


พ่อคิดว่า พระวาจาช่วยให้ความกระจ่างแก่เรา ในเรื่องนี้ เพราะเป็นพระวาจาที่พูดถึงครอบครัวโดยตรงในเวลาเดียวกันก็ทำให้เรารู้ว่าพระเยซูเจ้าทรงมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร พระองค์ไม่มานั่งถกเถียงในแง่ของกฎหมายว่าอะไรทำได อะไรทำไม่ได้ พระองค์ทรงตรงเข้าไปในแผนการแรกเริ่มของพระผู้สร้างซึ่งไม่มีใครรู้ดีเท่ากับพระองค์


คำขวัญปีนี้จึงมีความหมายมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภารกิจของเราในหลายแง่ พ่อจึงขอเสนอแผนการอภิบาลให้ด้วย



คุณพ่อ Pascal Chavez V.

โรม - มิถุนายน 2005