หนึ่งนาทีปรีชาญาณ
(One minute of Wisdom)
.........................
“ความฉลาดในหนึ่งนาทีมีหรือไม่”
“แน่นอน” อาจารย์ตอบ
“แต่หนึ่งนาทีนั้นสั้นเกินไป”
“ห้าสิบเก้าวินาทีต่างหาก ที่นานเกินไป”
อาจารย์มักกล่าวกับศิษย์ที่ยังสงสัยว่า
“ห้าสิบเก้าวินาทีต่างหาก ที่นานเกินไป”
อาจารย์มักกล่าวกับศิษย์ที่ยังสงสัยว่า
“เราต้องใช้เวลาเท่าไร
เพื่อจะมองเห็นดวงจันทร์?”
“แล้วทำไมเราต้องใช้เวลา
ตั้งหลายปีเพื่อฝึกฝนฝ่ายจิตใจเช่นนี้?”
“เพียงแค่ปิดเปิดตา
เราต้องใช้เวลาทั้งชีวิต
แต่การเห็น เกิดขึ้นภายในพริบตาเดียว”
คำนำ
ของผู้เขียน
อาจารย์ที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่บุคคลเดียวแต่อาจจะเป็นอาจารย์หลายๆ ท่าน อาทิ อาจารย์ฮินดู อาจารย์เซนอาจจะเป็นอาจารย์หลายๆ ท่าน อาทิ อาจารย์ฮินดู อาจารย์เช่น อาจารย์เต๋า อาจารย์ยิว ฤษีคริสต์ หรือนักบำเพ็ญฌานคนหนึ่ง เป็นต้น อาจารย์ผู้นี้คือเล่าสูและโสคราเตส พระพุทธเจ้า และพระเยซูเจ้า พระซาราธุสตราและพระโมหะหมัด คำสอนของอาจารย์เหล่านี้เราพบได้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตศักราชจนกระทั่งศตวรรษที่20 แห่งคริสตศักราช ความปรีชาฉลาดได้มาจากทั้งทางโลกตะวันตกและโลกตะวันออก แล้วนักประวัติศาสตร์ก่อนอาจารย์เหล่านี้ไม่มีความสำคัญบ้างหรือ? ก่อนอื่นประวัติศาสตร์เป็นแค่ความทรงจำของสิ่งที่เห็นได้ภายนอก ไม่ใช่ความจริงในตัวมันเอง เป็นความทรงจำของคำสอนและไม่ใช่ของความเงียบ
เพื่อจะอ่านคำสอนเหล่านี้แต่ละอย่าง เพียงใช้เวลาแค่หนึ่งนาที บางครั้งดูเหมือนว่า คำพูดของอาจารย์ออกจะคลุมเครือหรืออาจจะไม่เข้าใจเลยก็ได้ ต้องบอกเสียตั้งแต่ที่นี่ว่า หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือง่ายๆ เพราะเขียนขึ้นมาไม่ใช่เพื่อสั่งสอนแต่เพื่อปลุกให้ตื่นจากภวังค์ ในหน้าหนังสือแต่ละหน้า (ไม่ใช่ในคำที่ตีพิมพ์ หรือในเรื่องราวที่เล่า แต่ในจิตวิญญาณ และบรรยากาศ) มีความปรีชาฉลาดที่ไม่อาจจะถ่ายทอดออกมาเป็นภาษามนุษย์ได้ ซ้อนเร้นอยู่ ขณะที่อ่านไปทีละหน้า และพยายามตีความหมายของคำพูดที่คมคายและลึกซึ้งเหล่านี้ท่านผู้อ่านอาจจะพบกับคำสอนที่แฝงเงียบอยู่ในหนังสือเล่นนี้ซึ่งจะช่วยปลุกผู้อ่านให้ตื่นขึ้นจากภวังค์...และเปลี่ยนแปลงชีวิตก็เป็นได้และนี่คือความฉลาด กล่าวคือ ท่านผู้อ่านได้รับการเปลี่ยนแปลงไปโดยท่านผู้อ่านแทบไม่ต้องออกแรงเลย และเช่นนี้ท่านผู้อ่านก็ตื่นขึ้นมาในความจริงที่ไม่ใช่คำพูด และไม่อาจจะถ่ายทอดเป็นคำพูดได้
ถ้าท่านผู้อ่านโชคดี ที่ถูกปลุกขึ้นมาแบบนี้ ท่านผู้อ่านก็จะได้รู้ว่าวิธีพูดที่ดีที่สุดคือการไม่พูด กิจการที่งดงามที่สุดคือกิจการที่ยังไม่แล้วเสร็จ และการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยไม่คิดอยาก
สิ่งพึงระวัง จงอ่านทีละน้อย ครั้งละหน้าสองหน้า การทานยามากเกินไป ย่อมจะลดประสิทธิภาพของยาให้น้อยลง
…………………………………….
อารัมภบท
ความนึกคิดของคนเรา ให้การริเริ่มและชี้นำคำพูด กิจการและการแสดงออกของตน
คนฉลาด ย่อมพูดอย่างฉลาด ทำอย่างฉลาด และแสดงออกอย่างฉลาด
หรือในทางตรงข้าม
ในบรรดาสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความฉลาดให้แก่คนเรานั้นหนังสือมีส่วนช่วยได้อย่างมาก
หนังสือเล่มนี้ อยากจะเป็นหนึ่งในหนังสือนับจำนวนไม่ถ้วน ที่มีส่วนเสริมสร้าง ความฉลาดหลักแหลม และรู้แจ้งให้ทุกคนที่หยิบยกมันขึ้นมาอ่าน
และนั่นคือจุดมุ่งหมายของสำนักพิมพ์ซาเลเซียน... เสริมสร้างปัญญา ด้วยคุณธรรม อาศัยหนังสือเป็นสื่อ
ประโยชน์อันใดที่ผู้อ่านจะได้รับ ขอยกให้เป็นความดีของบรรดาอาจารย์เหล่านั้น ที่ช่วยให้หลักปรัชญาชีวิต ในหน้าหนังสือเล่มนี้
บ. สันติสุข
16 กรกฎาคม 2532
…………………………………….
อัศจรรย์
ชายคนหนึ่งเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล
เพื่อจะมาดูด้วยตนเอง
ว่าอาจารย์มีชื่อเสียงตามที่เล่าลือกันหรือเปล่า
“อาจารย์ของเจ้าทำอัศจรรย์อะไรบ้าง?”
เขาถามศิษย์คนหนึ่ง
“อัศจรรย์นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
ในประเทศของท่าน ท่านถือว่าเป็นอัศจรรย์
เมื่อพระเจ้าทรงกระทำ
ตามความประสงค์ของใครคนหนึ่ง
แต่ในในประเทศของเรา
เราถือว่าเป็นอัศจรรย์
เมื่อใครก็ตามทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า”
…………………………………….
วัยผู้ใหญ่
เมื่อสังเกตเห็นศิษย์คนหนึ่ง
สวดอย่างไม่หยุดหย่อน
อาจารย์ก็กล่าวกับเขาว่า
“เมื่อไรเจ้าจะเลิกยึดพึ่งพิงพระเจ้า
และเริ่มยืนด้วยลำแข้งของเจ้าเองเสียที?”
ศิษย์รู้สึกงงงัน
“ก็อาจารย์เองได้สอนเราไว้ไม่ใช่หรือว่า
ให้ถือว่าพระเจ้าทรงเป็นบิดาของเรา?”
“แล้วเมื่อไรเจ้าจะเข้าใจสักทีว่า
บิดานั้น ไม่ใช่คนที่เจ้าคอยแต่พึ่งพิง
แต่เป็นผู้ที่ช่วยเจ้าให้เลิกพึ่งพิงเสียที?”
…………………………………….
ความอ่อนไหว
“ผมจะมีคามรู้สึกว่า
เป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งสร้างในธรรมชาติได้อย่างไร?”
“ด้วยการฟัง” อาจารย์ตอบ
“และผมต้องฟังอย่างไร?”
“ด้วยการเป็นหู พร้อมจะฟังทุกสิ่ง
ที่จักรวาลจะบอก
เมื่อใดที่เจ้าได้ยิน
สิ่งที่เจ้ากำลังพูดอยู่
จงรีบเลิกเสีย”
…………………………………….
เหลวไหล
อาจารย์ถูอิฐก้อนหนึ่งไปมากับพื้นห้อง
ที่ศิษย์กำลังนั่งรำพึงอยู่
ตอนแรก ศิษย์รู้สึกดีใจ
ถือว่าเป็นการทดสอบพลังแห่งสมาธิ
แต่เมื่อสุดจะทนเสียงนั้นต่อไปได้
จึงโพล่งออกมาด้วยความโมโห
“อาจารย์” ทำอะไรอยู่น่ะ
ไม่เห็นหรือว่าผมกำลังรำพึงอยู่?”
“ฉันกำลังฝนอิฐก้อนนี้ให้เป็นกระจกเงา”
อาจารย์ตอบ
“จะบ้าแล้วหรือ!
อาจารย์จะทำกระจกเงาจากอิฐได้อย่างไร?”
“ฉันคงจะไม่บ้าไปกว่าเจ้าดอก
เจ้าจะเป็นนักรำพึงได้อย่างไร
ถ้ายังเอาแต่ตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง?”
…………………………………….
ความแจ่มชัด
“จงอย่าเสาะหาพระเจ้า” อาจารย์สอน
“จงมองดูอย่างเดียว
แล้วทุกอย่างจะเผยพระเจ้าให้เจ้าได้เห็น”
“แต่เราจะต้องมองอย่างไร?”
“ทุกครั้งที่เจ้ามองอะไรสักอย่างหนึ่ง
เจ้าก็เห็นเฉพาะสิ่งนั้น และไม่เห็นอะไรอื่น”
ศิษย์ต่างงงงัน
อาจารย์จึงอธิบายต่อว่า
“ตัวอย่างเช่น ถ้าเจ้ามองดูดวงจันทร์
เจ้าก็เห็นแค่ดวงจันทร์ และไม่เห็นอะไรอื่น”
“ก็จะให้เราเห็นอะไรอื่น
นอกจากดวงจันทร์อีกล่ะ?”
“คนที่หิว มองดูดวงจันทร์
เห็นดวงจันทร์ เหมือนขนมเปี๊ยะอันใหญ่
คนที่มีความรัก มองดูดวงจันทร์
เห็นใบหน้าของคนที่ตนรัก”
…………………………………….
ศาสนา
ผู้ว่าราชการคนหนึ่งเดินทางผ่านมา
แวะเยี่ยมคารวะอาจารย์
“ภารกิจบ้านเมือง ทำให้ข้าพเจ้า
ไม่อาจจะปลีกตัวออกมาได้นานๆ” เขากล่าว
“ท่านจะช่วยสรุปแก่นสารของศาสนา
ให้เหลืออยู่แค่สองหรือสามย่อหน้า
สำหรับข้าพเจ้าผู้มีพันธะหน้าที่เช่นนี้ได้หรือไม่?”
“ฉันจะสรุปเพียงแค่คำเดียว
เพื่อประโยชน์สำหรับท่าน”
“ไม่น่าเชื่อ!
คำวิเศษคำนี้คืออะไรครับ?”
“ความเงียบ”
“และหนทางไปสู่ความเงียบคืออะไร?”
“การรำพึง”
“ถ้าท่านจะอนุญาต ข้าพเจ้าขอถามอีกนิดว่าการรำพึงคืออะไร?”
“ความเงียบ”
…………………………………….
ชีวิตจิต
แม้วันนั้นจะเป็นวันถือเงียบของอาจารย์
แต่คนเดินทางคนหนึ่งผ่านมา
และอยากจะขอคำแห่งปรีชา
เพื่อจะใช้นำเส้นทางเดินแห่งชีวิต
อาจารย์ยินยอมตามความต้องการด้วยยินดี
หยิบกระดาษแผ่นหนึ่งและเขียนเพียงคำเดียว
“ความสำนึกตน”
คนเดินทางแปลกใจ
“เพียงแค่คำเดียวเท่านั้น?
ท่านจะขยายความให้ยาวสักนิดไม่ได้หรือ?”
อาจารย์หยิบกระดาษคืน และเขียน
“ความสำนึกตน ความสำนึกตน ความสำนึกตน”
“แต่ คำเหล่านี้หมายถึงอะไรครับ?”
คนเดินทางถาม ท่าทางสับสนมากขึ้น
อาจารย์หยิบกระดาษคืนมาอีกครั้งหนึ่ง และเขียน
“ความสำนึกตน ความสำนึกตน ความสำนึกตน
หมายความว่า ความสำนึกตน”
…………………………………….
ตื่นเฝ้า
“ไม่มีอะไรบ้างเลยหรือ
ที่ช่วยให้ผมรู้แจ้งได้?”
“ก็คงจะเท่า ๆ กับที่เจ้าพยายาม
ให้ดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้านั่นแหละ”
“ถ้าเช่นนั้น
การฝึกฝนฝ่ายจิตที่ท่านสอนให้เรานั้น
มีประโยชน์อะไร?”
“ก็เพื่อช่วยเจ้าไม่ให้หลับ
ยามเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้านะซี”
…………………………………….
อยู่ที่นั่น
“ผมจะพบกับความปรีชาฉลาดได้ที่ไหน?”
“ที่นี่”
“และเมื่อไรจะได้พบ?”
“เดี๋ยวนี้เลย” “” “” “”
“แล้วทำไมผมจึงไม่เห็น?”
“ก็เพราะเจ้าไม่มองนี่”
“มองหาอะไร?”
“ไม่หาอะไรทั้งนั้น จงมองก็พอแล้ว”
“มองอะไร?”
“ทุกสิ่งที่สายตาเจ้าเห็น”
“ผมต้องมองอย่างพิเศษหรือเปล่า?”
“ไม่ต้อง มองธรรมดาก็พอแล้ว”
“แต่ผมก็มองแบบธรรมดาแล้วไม่ใช่หรือ?”
“ไม่”
“ทำไม?”
“เพราะเวลามอง เจ้าต้องอยู่ที่นี่ด้วย
แต่บ่อยครั้งเจ้ามอง แต่ใจไปอยู่ที่อื่น”
…………………………………….
ความลึกซึ้ง
อาจารย์พูดกับนักธุรกิจคนหนึ่ง
“ปลาตายบนดินที่แห้งผากฉันใด
ท่านก็จะตายเพราะติดตรึงกับธุรกิจฝ่ายโลกฉันนั้น
ปลาต้องกลับไปอยู่ในน้ำ...
ท่านต้องกลับไปสู่ความสันโดษ”
นักธุรกิจรู้สึกหวาดกลัว
“ผมต้องละทิ้งธุรกิจทั้งหมด
และเข้าอารามหรือ?”
“ไม่ ไม่ต้อง จงทำธุรกิจต่อไปแต่ จงหมั่นเข้าไปในใจตนเนือง ๆ”
…………………………………….
ความล้ำลึกภายใน
ศิษย์คนหนึ่งขอคำแห่งปรีชาสักคำหนึ่ง
อาจารย์บอกว่า
“จงเข้าไปนั่งในห้องส่วนตัว
แล้วห้องจะสอนเจ้าให้มีความสุขปรีชาสุขุม”
“แต่ผมไม่มีห้องส่วนตัว
เพราะผมไม่ได้เป็นฤาษี”
“มีสิ เธอมีห้องส่วนตัว
จงมองเข้าไปในตัวเธอสิ”
…………………………………….
ภารกิจแต่ละคน
แม้จะเป็นคนเคร่งครัดในธรรมเนียมประเพณี
แต่อาจารย์ไม่ค่อยจะเคารพต่อกฏเกณฑ์
และธรรมเนียมนัก
ครั้งหนึ่งเกิดการทะเลาะขึ้นระหว่างศิษย์คนหนึ่ง
กับลูกสาวของเขา
เพราะเขายืนยันรบเร้าให้ลูกสาว
ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ศาสนา
ในการเลือกสามี
อาจารย์เข้าข้างหญิงสาวอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อศิษย์แสดงความแปลกใจ
ที่อาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ปฏิบัติตนเช่นนั้น
อาจารย์จึงกล่าวชี้แจงว่า
“เจ้าต้องเข้าใจว่า
ชีวิตเป็นดังเสียงดนตรี ที่ประกอบขึ้นด้วย
ความรู้สึกและสัญชาตญาณ
มากกว่าระเบียบกฏเกณฑ์”
…………………………………….
ความกลมกลืน
แม้จะเป็นคนเคร่งครัดในธรรมเนียมประเพณีแต่อาจารย์ไม่ค่อยจะเคารพต่อกฏเกณฑ์
และธรรมเนียมนัก
ครั้งหนึ่งเกิดการทะเลาะขึ้นระหว่างศิษย์คนหนึ่ง
กับลูกสาวของเขา
เพราะเขายืนยันรบเร้าให้ลูกสาว
ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ศาสนา
ในการเลือกสามี
อาจารย์เข้าข้างหญิงสาวอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อศิษย์แสดงความแปลกใจ
ที่อาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ปฏิบัติตนเช่นนั้น
อาจารย์จึงกล่าวชี้แจงว่า
“เจ้าต้องเข้าใจว่า
ชีวิตเป็นดังเสียงดนตรี ที่ประกอบขึ้นด้วย
ความรู้สึกและสัญชาตญาณ
มากกว่าระเบียบกฏเกณฑ์”
…………………………………….
ความเข้าใจ
“ทำอย่างไร ผมจึงจะได้รับพระพร
เพื่อจะ ได้ไม่ตัดสินเพื่อนบ้านในเรื่องใดเลย?”
“ด้วยการสวดภาวนา”
“แล้วทำไมผมยังไม่ได้รับตามที่สวดขอ?”
“เพราะเจ้าไม่ได้สวดในที่เหมาะสม”
“ที่ไหน?”
“ในดวงพระทัยพระเจ้า”
“แล้วผมจะเข้าถึงดวงพระเจ้าได้อย่างไร?”
“ด้วยการเข้าใจว่า ใครที่ทำบาป
ไม่รู้ว่าตนทำอะไร
ก็ควรได้รับการอภัย”
…………………………………….
อดีต
“ผมจะได้รับชีวิตนิรันดรได้อย่างไร?”
“ชีวิตนิรันดรอยู่ที่นี่แล้ว อยู่ในปัจจุบัน”
“แต่ผมอยู่ในปัจจุบันแล้วไม่ใช่หรือ?”
“ไม่”
“ทำไม?”
“เพราะเจ้ายังไม่ได้ทิ้งอดีต”
“และทำไมผมต้องทิ้งอดีต
ในเมื่อไม่ใช่อดีตจะเลวไปหมด?”
“อดีตควรจะถูกทิ้งไป ไม่ใช่เพราะไม่ดีแต่เพราะตายไปแล้ว”
…………………………………….
เป็นอาจารย์
“ผมอยากจะเป็นอาจารย์แห่งความจริง”
“เจ้าพร้อมที่จะถูกหัวเราะเย้ยหยัน
ถูกมองข้าม และต้องหิวโหย
จนถึงอายุสี่สิบห้าปีไหมล่ะ?”
“ผมพร้อมแล้ว แต่โปรดบอกผมหน่อย
ว่าเมื่อผมอายุครบสี่สิบห้าแล้ว
จะเป็นอย่างไร?”
“เจ้าก็จะเริ่มชินไปเอง”
…………………………………….
ดีขึ้น
หนุ่มคนหนึ่งผลาญมรดกที่ได้รับตกทอดมา
อย่างฟุ่มเฟือย จนหมดสิ้น
และผลที่มักจะตามมาก็คือ
เมื่อสูญเงินทอง ก็สูญเพื่อนด้วย
เมื่อสิ้นหวังในความพยายามทุกอย่างแล้ว
เขาก็มาหาอาจารย์ บอกว่า
“ต่อไปนี้ ผมจะเป็นอย่างไร?
ผมไม่มีเงิน ไม่มีเพื่อนแล้ว”
“ลูกเอ๋ย อย่าเป็นกังวลไปเลย
จงฟังสิ่งที่ฉันจะบอกให้ดี
ทุกอย่างจะดีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง”
แววตาชายหนุ่มเป็นประกายด้วยความหวัง
“ผมจะร่ำรวยอีกครั้งหนึ่งใช่ไหมครับ”
“ไม่ แต่เจ้าจะเริ่มชินกับการไม่มีเงิน
และอยู่ตัวคนเดียว”
…………………………………….
ฝืนประเพณี
ศิษย์หญิงคนหนึ่งในงานเลี้ยงมงคลสมรส
ประกาศว่า เพราะความรักต่อคนจน
เธอและครอบครัวจะฝืนประเพณี
โดยจะจัดให้แขกยากจนนั่งหัวโต๊ะอาหาร
และแขกที่ร่ำรวยนั่งหน้าประตู
ศิษย์หญิงมองหน้าของอาจารย์
หวังจะได้รับคำชม
อาจารย์หยุดคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า
“คงจะไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
และคงจะไม่มีใครพอใจในงานเลี้ยงนี้แน่
ครอบครัวของเจ้าจะต้องอับอายขายหน้า
แขกที่มั่งมี จะรู้สึกไม่พอใจ
แขกที่ยากจน คงจะต้องหิว
เพราะไม่กล้ากินจนอิ่มหนำ
เมื่อต้องนั่งอยู่หัวโต๊ะอย่างนั้น”
…………………………………….
ความโง่เขลา
ศิษย์หนุ่มคนหนึ่งเป็นอัจฉริยะ
จนผู้คงแก่เรียนจากที่ต่างๆ มาขอคำแนะนำ
และพากันพิศวงในความรอบรู้ของเขา
ผู้ว่าราชการคนหนึ่ง กำลังหาที่ปรึกษาสักคน
จึงมาหาอาจารย์ กล่าวว่า
“โปรดบอกข้าพเจ้าหน่อยเถอะ
เป็นความจริงหรือเปล่า
ที่ศิษย์หนุ่มคนนั้นรอบรู้ทุกอย่าง
ตามที่คนร่ำลือกัน?”
“ถ้าจะพูดกันตามจริงแล้ว”
อาจารย์ตอบน้ำเสียงประชดเล็กน้อย
“ศิษย์คนนั้นอ่านมาก
จนฉันมองไม่เห็นว่า
เขาจะมีเวลาเพื่อเรียนรู้อะไรได้บ้าง”
…………………………………….
วิธีการซื่อๆ
อาจารย์มักจะสอน ด้วยการเล่าเรื่อง
หรือใช้นิทานเปรียบเทียบ
ซึ่งศิษย์ก็ฟังด้วยความยินดี
แต่บางครั้งก็ไม่พอใจ
เพราะอยากจะฟังอะไรที่ลึกซึ้ง ไปกว่านั้น
แต่อาจารย์ยังคงยืนกราน
พร้อมกับตอบข้อแย้งของศิษย์ว่า
“พวกเจ้ายังไม่เข้าใจหรือว่า
ระยะทางที่สั้นที่สุด ระหว่างคนกับความจริง
อยู่ที่เรื่องเพียงเรื่องเดียว”
อีกครั้งหนึ่ง อาจารย์กล่าวว่า
“จงอย่าดูถูกหรือมองข้ามเรื่องที่เล่า
เหรียญทองที่หายไป หาพบได้เพราะแสงสว่าง
จากเทียนเล่มหนึ่ง ที่ราคาไม่กี่สตางค์ ฉันใด
เราก็สามารถเข้าถึงความจริงที่ลึกซึ้งที่สุด
ด้วยเรื่องซื่อๆ เรื่องหนึ่งได้ ฉันนั้น”
…………………………………….
ความสุข
“ผมกำลังต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน
มิฉะนั้นผมคงต้องเป็นบ้าแน่ๆ
ที่บ้าน เราอาศัยอยู่ในห้องเดียว
มีภรรยาผม ลูกๆ และพ่อตาแม่ยาย
เราคงจะเป็นโรคประสาทกันหมดแน่
เดี๋ยวก็ร้องตะโกน เดี๋ยวก็ด่าว่ากัน
ห้องนั้นจึงกลายเป็นนรกไปเสียแล้ว”
“เจ้าสัญญาจะทำตามที่ฉันบอกไหม?”
อาจารย์ถาม สีหน้าจริงจัง
“ผมสาบานว่าจะทำตามทุกอย่าง”
“ดีมาก เจ้ามีสัตว์เลี้ยงกี่ตัว?”
“จงกลับไป และเอาสัตว์ทุกตัวไปอยู่ห้องด้วย
หลังจากนี้หนึ่งอาทิตย์ ค่อยกลับมาหาฉันใหม่”
ศิษย์คนนั้นตกใจ แต่ได้สัญญาอาจารย์ไว้ว่า
จะนบนอบทำตามทุกอย่าง
เขาทำสัตว์ทุกตัวเข้าไว้ในห้อง
หนึ่งอาทิตย์ต่อมา เขากลับมาหาอาจารย์
ท่าทางโทรม และอิดโรย จนน่าเวทนา
“ผมบ้าแล้วแน่ๆ ไหนจะสกปรก
ไหนจะกลิ่นเหม็น
ไหนจะเสียงหนวกหู
เราทนต่อไปไม่ไหวแล้ว!”
“จงกลับไปบ้าน” อาจารย์สั่ง
“แล้วเอาสัตว์ออกจากห้องให้หมด”
ศิษย์คนนั้นวิ่งกลับบ้านด้วยความรวดเร็ว
วันรุ่งขึ้นก็มาหาอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง
ดวงตาเป็นประกายด้วยความยินดี
“ชีวิตช่างงดงามเสียเหลือเกิน!
เมื่อสัตว์ต่างๆ ออกไปจากห้องแล้ว
ห้องกลับเป็นสวรรค์...สงบ สะอาด
และกว้างขวางดีจัง!”
…………………………………….
การรำพึง
ศิษย์คนหนึ่งนอนหลับ และฝันว่า
ได้ไปถึงสวรรค์
ที่นั่น เขาต้องแปลกใจที่เห็นอาจารย์
และศิษย์อื่นๆ นั่งรำพึงอย่างดื่มด่ำอยู่
“นี่หรือ รางวัลตอบแทนในสวรรค์”
เขาตะโกนร้อง
“มันก็เหมือนกับที่เราทำกันในโลกนั่นแหละ”
ทันที ก็ได้ยินเสียงพูดว่า
“เจ้าโง่
เจ้าคิดว่า ใครที่รำพึงก็อยู่ในสวรรค์แล้วหรือ?
มันตรงกันข้าม
สวรรค์อยู่ในใจของคนที่รำพึงต่างหาก”
…………………………………….
เท้าบนดิน
ครั้งหนึ่งจอมโกงคนหนึ่งบอกอาจารย์ว่า
“เมื่อวานนี้ตอนเล่นไพ่ ผมถูกจับได้ว่าเล่นโกง
คนในวงไพ่พากันทุบตีผม
และโยนผมออกนอกหน้าต่าง
ท่านมีอะไรจะแนะผมบ้างไหมครับ?”
อาจารย์มองเขาอยู่ครู่ใหญ่
แล้พูดว่า “ถ้าฉันเป็นเจ้า
คราวหน้า ฉันจะเล่นอยู่ที่ชั้นล่าง”
คำตอบของอาจารย์สร้างความงงงัน
ให้แก่ศิษย์ทุกคน
ทำไมท่านไม่บอกเขา
ให้เลิกเล่นโกงล่ะ?” พวกเขาพากันถาม
“เพราะฉันรู้ว่า เขาจะไม่มีวันเลิกโกงได้”
อาจารย์ตอบซื่อๆ แต่เฉียบแหลม
…………………………………….
การพูด
ศิษย์คนหนึ่งลุกลี้ลุกลน
อยากจะเล่าเรื่องที่ได้ยินมาจากตลาด
ให้อาจารย์ฟัง
“เดี๋ยวก่อน” อาจารย์กล่าว
“สิ่งที่เจ้าจะเล่าให้ฟังเป็นความจริงหรือเปล่า?”
“ผมคิดว่าไม่”
“มีประโยชน์หรือเปล่า?”
“ไม่”
“สนุกไหม?”
“ไม่เชิง”
“ถ้าอย่างนั้น เราจะฟังไปทำไม?”
…………………………………….
ซุบซิบนินทา
ศิษย์คนหนึ่งสารภาพว่า
ติดนิสัยชอบเอาคำซุบซิบนินทาไปพูดต่อ
อาจารย์ให้ข้อสังเกตว่า
“การนำคำซุบซิบนินทาไปพูดต่อ
คงจะไม่ใช่สิ่งเลวร้าย
ถ้าเจ้าไม่เติมแต่งสีสันให้มัน”
…………………………………….
ความวุ่นวาย
ศิษย์หลายคน เฝ้ารบเร้าให้อาจารย์
สอนคำแห่งปรีชาญาณให้
อาจารย์ตอบว่า
“ความปรีชาฉลาดไม่อยู่ในคำพูด
แต่เผยแสดงออกมาในกิจการ”
เมื่อเห็นศิษย์พากันหมกมุ่นแต่ในกิจการร้อยแปด
อาจารย์หัวเราะและกล่าวว่า
“นี่มันไม่ใช่กิจการหรอก
แต่เป็นแค่ความปั่นป่วนวุ่นวายเท่านั้นเอง”
…………………………………….
คุก
“เจ้าภาคภูมิใจในสติปัญญาของเจ้ามาก”
อาจารย์พูดกับศิษย์คนหนึ่ง
“เจ้าไม่ผิดอะไรกับคนถูกจำคุก
ที่ภาคภูมิใจในความกว้างขวาง
ของห้องขัง”
…………………………………….
หนึ่งเดียวกัน
“ต้องทำอย่างไร จึงจะเป็นหนึ่งเดียว
กับพระเจ้า?”
“ยิ่งเจ้าพยายาม ยิ่งจะเกิดช่องว่าง
ระหว่างพระเจ้ากับเจ้า”
“แล้วจะต้องทำอย่างไรกับช่องว่างนี้?”
“ด้วยการเข้าใจว่า ไม่มีช่องว่าง”
“หมายความว่า พระเจ้าและผม
เป็นสิ่งหนึ่งเดียวกันอย่างนั้นหรือ?”
“ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และไม่ใช่สอง”
“จะเป็นไปได้อย่างไร?”
“ดวงอาทิตย์และแสงแดด
มหาสมุทรและคลื่น
นักร้องและเพลง
ไม่ใช่สิ่งหนึ่งเดียวกัน
และไม่ใช่สองสิ่ง”
…………………………………….
วินิจวิเคราะห์
หนุ่มผิดหวังในความรักคนหนึ่งกล่าวว่า
“ผมเคยหลงรักมาครั้งหนึ่ง
ผมไม่คิดจะรักใครอีกแล้ว”
อาจารย์กล่าวว่า
“เจ้าก็เหมือนแมว
ที่นั่งบนเตาผิงจนถูกไฟไหม้
แล้วก็ไม่ยอมขึ้นไปนั่งอีกเลย”
…………………………………….
กิจการ
ครั้งหนึ่ง อาจารย์ถามศิษย์ว่า
อะไรจะสำคัญกว่ากัน
ความฉลาดหรือกิจการ
ศิษย์ต่างเห็นพ้องกันว่า
“แน่นอนที่สุด กิจการ
ความฉลาดจะมีประโยชน์อะไร
ถ้าไม่แสดงออกมาในกิจการ?”
อาจารย์แย้งว่า
“กิจการจะมีประโยชน์อะไร
ถ้ากิจการนั้นไม่ได้มาจากจิตใจ
ที่สว่างด้วยปรีชาฉลาด?”
…………………………………….
ความเคารพ
เมื่อเห็นว่าศิษย์ให้ความหมายตนจนเกินเลย
อาจารย์จึงพูดว่า
“แสงสว่างสะท้อนอยู่ที่กำแพง
ทำไมไปให้ความเคารพกำแพง?
จงให้ความเคารพแก่แสงสว่างสิ”
…………………………………….
ชะตากรรม
หญิงคนหนึ่งบ่นว่าชะตากรรมตนเอง
อาจารย์กล่าวว่า
“เป็นเจ้าเอง
ที่กำหนดชะตากรรมาของเจ้าเอง”
“แต่ดิฉันต้องรับผิดชอบ
ที่เกิดมาเป็นผู้หญิงด้วยหรือ?”
“การเกิดมาเป็นผู้หญิงไม่ใช่ชะตากรรม
เป็นความบังเอิญ
ส่วนเจ้าจะยอมรับความเป็นผู้หญิงอย่างไร
และจะใช้ความเป็นผู้หญิงอย่างไร
นั่นสิ ชะตากรรม”
…………………………………….
เกิดใหม่
“จงตัดเยื่อใยกับอดีตของเจ้า
แล้วเจ้าจะได้รู้แจ้ง” อาจารย์สอน
“ผมกำลังค่อยๆ ทำเป็นขั้นตอน”
แต่การรู้แจ้งเป็นไปในทันใด”
ภายหลัง อาจารย์พูดว่า
“จงกระโดดให้แรง
เจ้าไม่อาจจะข้ามเหว
ด้วยก้าวสั้นๆ ได้เลย”
…………………………………….
ความฝัน
“เมื่อไรผมจะรู้แจ้ง?”
“เมื่อเจ้าเห็น” อาจารย์ตอบ
“เห็นอะไร?”
“ต้นไม้ ดอกไม้ ดวงจันทร์ ดวงดาว”
“แต่ผมเห็นสิ่งเหล่านี้ทุกวัน”
“ไม่ สิ่งที่เจ้าเห็นเป็นเพียงต้นไม้กระดาษ
ดอกไม้กระดาษ
ดวงจันทร์กระดาษ
ดวงดาวกระดาษ
เพราะเจ้าไม่ได้มีชีวิตในวามจริง
แต่ในคำพูด และในความคิด”
แล้วอาจารย์ก็เสริมอย่างนุ่มนวลกว่า
“เจ้าเจริญชีวิตกระดาษ
และน่าเสียดาย
เจ้าจะตายด้วยความตายกระดาษ ในที่สุด”
…………………………………….
เปลี่ยนแปลง
ศิษย์คนหนึ่ง ชอบบ่นว่าคนอื่นไม่หยุดหย่อน
อาจารย์จึงพูดว่า
“ถ้าเจ้าต้องการสันติ
จงพยายามเปลี่ยนตัวเจ้าก่อน
ไม่ใช่คนอื่น
เพื่อป้องกันเท้า การสวมรองเท้า
จะง่ายกว่าปูพื้นดินด้วยพรมเป็นไหนๆ”
…………………………………….
ปฏิกิริยา
มีคนถามว่า
อาจารย์มีแนวเลือกสรรศิษย์อย่างไร
อาจารย์ตอบว่า
“ฉันจะปฏิบัติต่อพวกเขา
ด้วยท่าทีนอบน้อมและสุภาพ
คนไหนที่แสดงท่าทีหยิ่งยโส
ต่อท่าทีสุภาพของฉัน
ฉันก็จะไม่รับเป็นศิษย์
และคนที่ให้ความเคารพต่อฉัน
เพราะท่าทีสุภาพของฉัน
ฉันก็ไม่รับเป็นศิษย์ด้วยเช่นกัน”
…………………………………….
ปรัชญา
ก่อนจะสมัครเป็นศิษย์ของอาจารย์
ผู้มาเยือนอยากจะลองภูมิอาจารย์ดู
“ท่านจะสอนจุดหมายปลายทางของชีวิต
ให้ผมได้ไหม?”
“ไม่”
“หรืออย่างน้อยความหมายของชีวิต?”
“ไม่”
“ท่านจะบอกให้ผมทราบถึงธรรมชาติของความตายและชีวิตหลังจากความตายได้หรือไม่?”
ผู้มาเยือนจากไป ใจนึกดูหมิ่นอาจารย์
ศิษย์ต่างพากันไม่พอใจ ที่อาจารย์ให้ภาพพจน์ที่ไม่ดี
อาจารย์ปลอบใจพวกเขาว่า
“จะมีประโยชน์อันใด
ที่จะรู้ถึงธรรมชาติและความหมายของชีวิต
ถ้าเจ้าไม่เคยลิ้มรสชีวิตเลย?
ฉันอยากให้พวกเจ้ากินขนมหวาน
มากกว่าจะมานั่งวิเคราะห์มัน”
…………………………………….
ศิษย์
ผู้มาเยือนคนหนึ่ง
ขอเป็นศิษย์ของอาจารย์
อาจารย์ตอบว่า
“เจ้ามาอยู่กับฉันก็ได้
แต่จะเป็นศิษย์ของฉันไม่ได้”
“แล้วผมจะเป็นศิษย์ของใคร?”
“ไม่ต้องเป็นของใคร
วันไหนที่เจ้าติดตามใครคนหนึ่ง
เจ้าก็เลิกติดตามความจริง”
…………………………………….
ความบอดมืด
“ผมขอเป็นศิษย์ของท่านได้ไหม?”
“เจ้าเป็นศิษย์เพราะตาของเจ้าปิด
แต่วันใด ที่ตาของเจ้าเปิดออก
เจ้าจะเห็นเองแหละว่า เจ้าไม่มีอะไร
จะเรียนรู้จากฉัน หรือจากใครก็ตาม”
“แล้วมีอาจารย์ไว้ทำไม?”
“มีไว้เพื่อจะทำให้เจ้าเข้าใจว่า
อาจารย์ไม่มีประโยชน์เลย”
…………………………………….
สื่อกลาง
“ท่านมีอาจารย์ไว้ทำไม?”
ผู้มาเยือนถามศิษย์คนหนึ่ง
ศิษย์คนนั้นตอบ
“ถ้าจะต้มน้ำร้อน
จำต้องมีภาชนะไว้เป็นสื่อกลาง
ระหว่างไฟและน้ำ
…………………………………….
ความอยู่รอด
ทุกวัน ศิษย์คนหนึ่งจะถามคำถามเดียวกันว่า
“ผมจะพบพระเจ้าได้อย่างไร?”
และทุกวันก็ได้รับคำตอบลึกลับอันเดียวกันว่า
“โดยทางความปรารถนา”
“แต่ผมปรารถนาพระเจ้าจนสุดหัวใจแล้วนี่
ทำไมผมจึงยังไม่พบพระองค์อีก?”
วันหนึ่ง อาจารย์กำลังอาบน้ำในแม่น้ำ
กับศิษย์คนนี้อยู่
จู่ๆ อาจารย์ก็กดหัวศิษย์ลงใต้น้ำ และกดไว้อย่างนั้น
ขณะที่ศิษย์พยายามสุดความสามารถที่จะดิ้นให้หลุด
วันรุ่งขึ้น อาจารย์เป็นคนเริ่มพูดก่อน
“เมื่อวาน ตอนฉันกดหัวเจ้าไว้ใต้น้ำ
ทำไมเจ้าพยายามดิ้นให้หลุดขึ้นมา?”
“ก็ผมต้องการอากาศหายใจอย่างที่สุดเลย”
“เมื่อใดที่เจ้าต้องการจะได้รับพระหรรษทาน
ให้แสวงหาพระเจ้าอย่างที่สุด
อย่างที่เจ้าต้องการอากาศหายใจ
เมื่อนั้น เจ้าจะพบพระองค์”
…………………………………….
หนังสือ
เมื่อเห็นศิษย์คนหนึ่งยึดมั่นแต่หนังสือ
จนบางครั้งก็เกินเลย
อาจารย์จึงพูดว่า
“ชายคนหนึ่งไปตลาด
พร้อมกับกระดาษ
จดรายการสิ่งที่ต้องซื้อ
บังเอิญเขาทำกระดาษแผ่นนั้นหาย
เมื่อหาพบแล้ว ก็ให้รู้สึกยินดี
เขาอ่านรายการสิ่งของที่ต้องซื้อด้วยความกระหาย
และถือกระดาษไว้แน่น
จนกระทั่งซื้อสิ่งที่ต้องการจนครบแล้ว...
ก็ทิ้งกระดาษแผ่นนั้นไป
เหมือนเศษกระดาษธรรมดา”
…………………………………….
หลบซ่อน
อาจารย์มีชื่อเสียง
ตั้งแต่เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่แล้ว
มีคนบอกว่า
ครั้งหนึ่งพระเจ้าทรงขอความเห็นจากอาจารย์
“เราอยากจะเล่นซ่อนหากับมนุษย์
เราถามเหล่าเทวดาว่า
เราจะไปซ่อนต้วที่ไหนดี
บางองค์ก็ว่าในส่วนลึกของมหาสมุทร
บางองค์ก็ว่าบนยอดเขาสูงที่สุด
บางองค์ก็ว่าที่ด้านมืดของดวงจันทร์
อีกบางองค์ก็ว่าบนดวงดาวที่ห่างไกล...
และเจ้าว่าเราจะไปซ่อนที่ไหนดี?”
อาจารย์ทูลตอบว่า
“พระเจ้าข้า
เสด็จไปซ่อนในดวงใจมนุษย์นั่นแหละ
เพราะที่นั่นจะเป็นที่สุดท้าย
ที่พวกเขาคิดจะตามหาพระองค์
…………………………………….
ความไม่รุนแรง
ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
มีงูตัวหนึ่งเที่ยวกัดชาวบ้าน
จนไม่มีใครกล้าไปทำงานในทุ่งนา
ความศักดิ์สิทธิ์ของอาจารย์ทำให้งูตัวนั้นเชื่อง
และช่วยอบรมมันให้ลดความรุนแรงลง
ไม่นานนัก ชาวบ้านพบว่า
งูหมดพิษสง ก็ช่วยกันเอาหินมาขว้าง
แล้วจับหางลากไปทิ้ง
คืนวันหนึ่ง งูตัวนั้น เลื้อยลากสังขาร
มาที่บ้านของอาจารย์ เพื่อประท้วง
อาจารย์พูดกับงูว่า
“เพื่อนรัก เจ้าเลิกทำให้คนกลัวเจ้า...
นี่สิแย่”
“ก็ท่านเองสอนข้า
ให้เลิกใช้ความรุนแรงไม่ใช่หรือ?”
“ฉันเพียงแต่บอกเจ้าให้เลิกทำร้ายคน...
แต่ไม่ได้บอกให้เลิกส่งเสียงฟ่อนี่!”
…………………………………….
ความวอกแวก
เกิดมีการถกเถียงกันขึ้นในระหว่างศิษย์
ว่าการทำสิ่งไหนจะยากที่สุด
เขียนการเผยแสดงของพระเจ้าลงในพระคัมภีร์
เข้าใจสิ่งที่พระเจ้าทรงเผยแสดงในพระคัมภีร์
หรือ อธิบายพระคัมภีร์ให้คนอื่น
หลังจากที่ได้เข้าใจพระคัมภีร์แล้ว
เมื่อศิษย์ถามความเห็นของอาจารย์
อาจารย์พูดว่า
“ฉันว่ามีอีกอย่าง ที่ยากมากกว่าสามอย่าง
ที่พวกเจ้าพูดถึงเสียอีก”
“อะไร อาจารย์”
“ก็การพยายามจะทำให้เจ้าพวกหัวขี้เลื่อย
ได้เห็นความจริง
อย่างที่มันเป็นนะซี”
…………………………………….
การรู้แจ้ง
“มีสามขั้นตอน แห่งการพัฒนาด้านจิตใจคน”
อาจารย์กล่าว
“กล่าวคือ เนื้อหนัง จิต และเทวะ”
“ขั้นตอนเนื้อหนังคืออะไร?”
ศิษย์ถาม กระหายอยากเรียนรู้
“เป็นขั้นตอนที่คนเห็นต้นไม้ เป็นต้นไม้
เห็นภูเขา เป็นภูเขา”
“แล้วขั้นตอนจิตเล่า?”
“เป็นขั้นตอนที่มองสิ่งต่าง ๆ ให้ลึกซึ้งลงไป
จนมองต้นไม้ไม่เป็นต้นไม้
และภูเขา ไม่ใช่ภูเขาอีกต่อไปแล้ว”
“แล้วขั้นตอนเทวะเล่า?”
“เป็นขั้นตอนที่มองสิ่งต่าง ๆ ให้ลึกซึ้งลงไป
จนมองต้นไม้ ไม่เป็นต้นไม้
และภูเขา ไม่ใช่ภูเขาอีกต่อไปแล้ว”
“แล้วขั้นตอนเทวะเล่า?”
“อา นั่นเป็นการรู้แจ้ง”
อาจารย์ตอบ พลางยิ้มอย่างมีเลศนัย
“เมื่อมองต้นไม้ เป็นต้นไม้
และภูเขา เป็นภูเขาอีกครั้งหนึ่ง”
…………………………………….
เป็นหมัน
อาจารย์เป็นคนไม่ชอบการพูดจา
แบบมีสำนวนโวหารเพราะพริ้ง
และมักจะเรียกการพูดจาแบบนี้ว่า
“เป็นไข่มุกแห่งปรีชาญาณ”
“แต่ถ้าเป็นดังไข่มุก
ทำไมอาจารย์จึงดูถูกมันเล่า?”
ศิษย์พากันถาม
“พวกเจ้าเคยเห็นใครเอาไข่มุก
ไปหว่านลงในดิน
แล้วเห็นมันงอกงามขึ้นมาใหม่?”
อาจารย์ตอบ
…………………………………….
ไม่มีคำพูด
“การเล่าเรียน
และความศรัทธาของพวกเจ้า
มีประโยชน์อะไร?
ลาโง่กลับฉลาดขึ้น เพราะอยู่ในห้องสมุด
หรือหนูกลับศักดิ์สิทธิ์ เพราะอาศัยอยู่
ในโบสถ์หรือเปล่า?”
“ถ้าเช่นนั้น เราต้องมีอะไรอีก?”
“ดวงใจ”
“แล้วเราต้องทำอย่างไรจึงจะได้มา?”
อาจารย์ไม่ตอบ
เพราะไม่รู้เหมือนกันว่าจะบอกอะไร
ที่พวกเขาจะไม่เปลี่ยนให้เป็น
เนื้อหาของการเรียน
และความศรัทธา
…………………………………….
ไปถึง
“การเดินไปสู่การรู้แจ้งนั้น
ยากหรือง่าย?”
“ไม่ยากและไม่ง่าย”
“ทำไมล่ะ?”
“เพราะไม่มี”
“ถ้าเช่นนั้น เราไปถึง
การรู้แจ้งได้อย่างไร?”
“ไม่ต้องเดินทาง
มันเป็นการเดินทางที่ไม่มีระยะทาง
หยุดเดิน ก็ถึงแล้ว”
…………………………………….
วิวัฒนาการ
วันรุ่งขึ้น อาจารย์กล่าวว่า
“การเดินทางง่ายกว่า การหยุดนิ่ง”
ศิษย์อยากจะรู้ว่าทำไม
“เพราะ ตราบใดที่เจ้ามุ่งไปสู่จุดหมาย
เจ้ายังฝันต่อไปได้
ทันทีที่เจ้าหยุด
เจ้าก็อยู่ต่อหน้าความจริงแล้ว”
“แล้วเราจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ถ้าไม่มีจุดหมาย หรือความฝัน?”
ศิษย์ถามด้วยความแปลกใจ
“การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คือ
การเปลี่ยนแปลงที่ไม่นึกอยาก
จงเผชิญหน้ากับความจริง
แล้วการเปลี่ยนแปลงที่ไม่นึกอยาก
จะเกิดขึ้น”
…………………………………….
ความไม่รู้ตัว
“ผมจะพบพระเจ้าได้ที่ไหน?”
“พระองค์ทรงอยู่ต่อหน้าเธอนั่นไง”
“แล้วทำไมผมจึงไม่เห็นพระองค์?”
“แล้วทำไมคนเมาจึงไม่เห็นบ้านของตนล่ะ?”
หลังจากนั้น อาจารย์กล่าวเสริมว่า
“จงค้นหาดูซิว่า
มีอะไรที่ทำให้เจ้ามึนเมาบ้าง
เพื่อจะเห็น เจ้าต้องสร่างเมาเสียก่อน”
…………………………………….
ความรับผิดชอบ
อาจารย์ออกเดินทางพร้อมกับศิษย์คนหนึ่ง
ที่ชานหมู่บ้าน พวกเขาพบผู้ว่าราชการ
ซึ่งเข้าใจผิดว่า พวกเขาออกไปเพื่อให้การต้อนรับ
จึงกล่าวว่า
“ที่จริงแล้ว พวกท่านไม่น่าจะต้องลำบาก
ออกมาให้การต้อนรับข้าพเจ้าเลย”
“ท่านเข้าใจผิดแล้วครับ” ศิษย์พูดขึ้น
“เรากำลังเดินทางอยู่
แต่ถ้าเรารู้ท่านกำลังจะมา
เราก็พร้อมที่จะให้การต้อนรับท่าน
ให้สมเกียรติเลยทีเดียว”
อาจารย์ไม่ได้กล่าวแม้แต่คำเดียว
ตกเย็น อาจารย์พูดว่า
“ทำไมเจ้าจึงบอกว่า
เราไม่ได้ออกมาเพื่อให้การต้อนรับท่านผู้ว่า?
ไม่เห็นหรือว่า
ท่านต้องรู้สึกเก้อเขินแค่ไหน?”
“แต่ถ้าเราไม่บอกความจริง
เราจะไม่ผิดที่ได้หลอกลวงท่านหรือ”?
“เราไม่ได้หลอกลวงท่านสักหน่อย”
อาจารย์แย้ง “เป็นท่านเองต่างหาก
ที่หลอกลวงตัวเอง”
…………………………………….
อเทวะ
ศิษย์ต่างชื่นชมยินดี เมื่อได้ยินอาจารย์บอกว่า
สำหรับวันครบรอบวันเกิด
อาจารย์อยากจะได้เสื้อชุดใหม่
ศิษย์ได้สรรหาซื้อผ้าที่สวยที่สุด
ช่างตัดเสื้อประจำหมู่บ้านมาวัดตัวอาจารย์
และสัญญาว่า ถ้าพระเจ้าโปรด
ชุดจะเสร็จภายในหนึ่งสัปดาห์
ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์
ศิษย์คนหนึ่งไปหาช่างตัดเสื้อ
ขณะที่อาจารย์กำลังรอชุดใหม่ด้วยความตื่นเต้น
ช่างตัดเสื้อบอก “มีการล่าช้าเล็กน้อย
แต่ ถ้าพระเจ้าโปรด ชุดจะพร้อมพรุ่งนี้”
วันรุ่งขึ้น ช่างตัดเสื้อกล่าว
“ต้องขออภัยชุดยังไม่เสร็จ
ลองมาใหม่พรุ่งนี้
และถ้าพระเจ้าโปรด ชุดจะเสร็จแน่”
เช้าวันรุ่งขึ้น อาจารย์พูดกับศิษย์ว่า
“ลองถามช่างหน่อยซิว่า
ถ้าไม่ต้องเอาพระเจ้าเข้ามาเกี่ยว
ชุดจะแล้วเสร็จเมื่อไร?”
…………………………………….
ลึกซึ้งภายใน
“ทำมาทุกคนที่นี่มีความสุข
เว้นแต่ผมคนเดียว?”
“ก็เพราะเจ้าไม่รู้จักมองเห็นความดี
และความงดงามในทุกหนทุกแห่งนะซี”
“ทำไมผมจึงไม่เห็นความดี
และความงดงามทุกหนทุกแห่งล่ะ?”
“เพราะเจ้าไม่อาจจะเห็นสิ่งใดนอกตัวเจ้า
หากเจ้าไม่เห็นสิ่งนั้นในตัวเจ้าก่อน”
…………………………………….
เลือกอะไร
มีนิยายเล่าว่า
พระเจ้าทรงส่งเทวดามาหาอาจารย์
พร้อมกับสาสน์
“จงขอให้มีอายุยืนหมื่นปี
แล้วเราจะประทานให้
หรือล้านปีก็ได้
เจ้าต้องการจะมีอายุเท่าไร?”
“แปดสิบปี พระเจ้าข้า”
อาจารย์ตอบโดยไม่ลังเลใจแม้แต่น้อย
ศิษย์พากันผิดหวังในตัวอาจารย์ รบเร้าว่า
“อาจารย์ ถ้าท่านมีอายุสักล้านปี
จะมีกี่ชั่วอายุคน ที่จะรับประโยชน์
จากความปรีชาฉลาดของท่าน”
“ถ้าฉันอายุยืนล้านปี
คนจะมุ่งพยายามยืดอายุตนเอง
มากกว่าจะคิดเพิ่มพูนความปรีชาฉลาด”
…………………………………….
ไม่อยากลำบาก
ชายคนหนึ่ง ลังเลใจ
ที่จะทุ่มตนเอง เพื่อเสาะหาชีวิตจิต
เพราะกลัวว่าจะลำบากและต้องเสียสละ
อาจารย์กล่าวว่า
“แค่ลืมตาและมองดูมันจะต้องลำบาก
และต้องเสียสละแค่ไหนกัน?”
…………………………………….
ปล่อยวาง
“ผมต้องทำอะไร เพื่อจะรู้แจ้ง?”
“ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น”
“ทำไม?”
“เพราะการรู้แจ้ง ไม่ได้มาจากการกระทำ
แต่เกิดขึ้นเอง”
“ถ้าเช่นนั้น ก็ไม่มีวันได้มาเลยหรือ?”
“ได้ซี”
“ได้อย่างไร?”
“ด้วยการไม่ทำ”
“แล้วต้องทำอะไร เพื่อจะได้ไม่ทำ?”
“เจ้าต้องทำอะไรบ้าง
เมื่อนอนหลับ หรือตื่นนอน?”
…………………………………….
การแสดงออก
นักเขียนเกี่ยวกับศาสนาคนหนึ่ง
สนใจทรรศนะของอาจารย์
“เราจะค้นพบพระเจ้าได้อย่างไร?”
อาจารย์ตอบห้วนๆ ว่า
“โดยการทำให้ดวงใจขาวสะอาด
ด้วยการรำพึงเงียบๆ
โดยการไม่ทำให้กระดาษเปื้อน
ด้วยข้อเขียนเกี่ยวกับศาสนา”
แล้วหันไปทางศิษย์ที่คงแก่เรียน
กล่าวว่า
“หรือโดยการไม่ทำให้บรรยากาศเป็นมลภาวะ
ด้วยการพูดคุยอวดความรอบรู้”
…………………………………….
การค้นพบ
“โปรดช่วยเราให้ได้พบพระเจ้าด้วย”
“ไม่มีใครสามารถช่วยพระเจ้า
ในเรื่องนี้ได้หรอก”
“ทำไม?”
“ก็ด้วยเหตุผลเดียวกันที่ว่า
ไม่มีใครสามารถช่วยปลาให้พบมหาสมุทรได้”
…………………………………….
เริ่มจากตนเอง
“ผมจะช่วยโลกได้อย่างไร?”
“ด้วยการเข้าใจโลก” อาจารย์ตอบ
“แล้วผมจะเข้าใจโลกได้อย่างไร?”
“ด้วยการห่างโลกออกมา”
“ถ้าเช่นนั้น ผมจะรับใช้มนุษยชาติได้อย่างไร?”
“ด้วยการเข้าใจตัวเจ้าเอง”
…………………………………….
การเรียนรู้
“ผมอยากจะเรียนรู้
ท่านจะสอนผมได้ไหม?
“ฉันไม่คิดว่า เจ้าจะรู้จักเรียนรู้”
อาจารย์ตอบ
“ท่านจะสอนให้ผมเรียนรู้ได้ไหม?”
“แล้วเจ้าจะเรียนรู้ที่จะยอม
ให้ฉันสอนไหมล่ะ?”
หลังจากนั้นอาจารย์พูดกับศิษย์ที่ลังเลใจว่า
“การสอนจะมีได้ หากมีการรับรู้
การรับรู้จะมีได้
หากเจ้ารู้จักสอนตัวเจ้าเอง”
…………………………………….
กลับใจ
ศิษย์กลุ่มหนึ่ง กระหายที่จะเดินทาง
ไปจาริกแสวงบุญ อาจารย์สั่งว่า
“เอาฟักขมใบนี้ติดตัวพวกเจ้าไปด้วย
จุ่มฟักขมในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเจ้าไปถึง
และจงนำฟักขมนี้ไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่ง”
เมื่อศิษย์กลับจากการจาริกแสวงบุญ
อาจารย์สั่งให้ทำฟักขมเป็นอาหาร
และนำมาแจกให้ศิษย์ทานเป็นดังของเซ่นไหว้
“แปลกจัง” อาจารย์กล่าวขึ้นมา
หลังจากลองทานฟักขมแล้ว
“น้ำศักดิ์สิทธิ์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ไม่ได้ทำให้ฟักหวานขึ้นเลยนะ”
…………………………………….
สาเหตุ
ศิษย์ต่างพากันแปลกใจ
ที่อาจารย์ใช้คำเปรียบเทียบสอนแบบใหม่ๆ
“ชีวิตเป็นดังรถยนต์”
ศิษย์นิ่งเงียบ รอคำอธิบาย
รู้ดีว่าอาจารย์จะให้ความกระจ่าง
“ใช่สิ” อาจารย์กล่าวต่อ
“รถยนต์มีไว้เพื่อจะนำเรา
ไปถึงจุดหมายปลายทาง”
แล้วก็เงียบอยู่ครู่ใหญ่
“แต่คนส่วนใหญ่
มักจะนอนแผ่อยู่หน้ารถ
ปล่อยให้รถชน
แล้วก็โยนความผิดให้รถยนต์
สำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น”
…………………………………….
การเร่ง
อาจารย์เรียกร้องให้ทุกคนที่อยากจะเป็นศิษย์
มีเจตนาแน่วแน่จริงจัง
แต่อาจารย์มักจะตำหนิศิษย์เหล่านั้น
ที่พยายามจนเลยเถิดในด้านชีวิตจิต
เพราะสิ่งที่อาจารย์เรียกร้อง
เป็นความจริงจังแต่ร่าเริงแจ่มใส
เป็นความจริงจังแฝงไว้ซึ่งความยินดี...
ดังเช่นความพยายามของนักกีฬา
หรือของนักแสดงละคร
และเหนืออื่นใด มีความพากเพียรมากๆ
“ดอกไม้ที่มีการฝืนเร่งรีบให้บาน
มักจะไม่มีกลิ่นหอม”
อาจารย์มักจะพูดชี้แจง
“ผลไม้ที่เร่งฝืนให้สุก
มักจะเสียรสชาดไป”
…………………………………….
คาดคะเน
อาจารย์มักจะหัวเราะ
เมื่อเห็นศิษย์บางคนที่คิดอย่างไม่รู้จบสิ้น
ก่อนจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง
อาจารย์ชี้แจงสอนว่า
“คนที่คิดจนละเอียดไปหมดทุกอย่าง
ก่อนจะก้าวไปข้างหน้าสักก้าวหนึ่ง
คงจะต้องเสียเวลาทั้งชีวิต
สำหรับเท้าเพียงข้างเดียว”
…………………………………….
วิวัฒนาการ
ในอาราม มีกฎระเบียบหลายอย่าง
แต่อาจารย์มักจะเตือนศิษย์
ให้ระวัง อย่าให้กฎระเบียบเป็นเผด็จการ
“ความนบนอบ ต้องเคารพต่อกฎระเบียบ”
อาจารย์มักจะเตือน
“แต่ความรัก รู้ว่าเวลาใดผิดกฎระเบียบได้”
…………………………………….
วิวัฒนาการ
ภายหลังจากที่ได้รับความรู้แจ้งแล้ว
อาจารย์ก็ดำเนินชีวิตอย่างเรียบๆ...
เพราะเป็นคนชอบชีวิตเรียบง่าย
อาจารย์หัวเราะ เมื่อเห็นศิษย์พยายาม
เลียบแบบ และดำเนินชีวิตเรียบๆ บ้าง
“จะมีประโยชน์อะไร
ที่จะลอกเลียนแบบการปฏิบัติของฉัน”
อาจารย์กล่าว
“โดยที่ไม่รู้ถึงแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลัง?
หรือจะเอาแรงจูงใจของฉันไปใช้
โดยที่ไม่รู้แจ้งถึงที่มาของแรงจูงใจนั้นๆ?”
เพื่อให้ศิษย์เข้าใจดีขึ้น
อาจารย์กล่าวเสริมอีกว่า
“แพะจะเป็นคัมภีราจารย์ได้
เพราะมีหนวดเหมือนกันแค่นั้นหรือ?”
…………………………………….
ที่พึ่งแห่งตน
ศิษย์คนหนึ่ง
คอยแต่จะขอคำตอบจากอาจารย์ในทุกเรื่อง
อาจารย์จึงบอกว่า
“เจ้ามีคำตอบทุกอย่าง อยู่ในตัวเจ้าแล้ว
ถ้าเจ้ารู้จักค้นหาให้พบ”
กับศิษย์อีกคนหนึ่ง อาจารย์พูดว่า
“ในเรื่องของจิตใจขึ้น
เจ้าไม่อาจจะเดิน
โดยอาศัยแสงตะเกียงของคนอื่นได้เลย
เจ้าอยากจะขอยืมแสงตะเกียงของฉัน
แต่ฉันอยากจะสอนเจ้า
ให้ทำตะเกียงใช้เองสักอันหนึ่ง”
…………………………………….
ตัวเอง
“เจ้าอยากจะให้เราตัดสินทุกอย่างแทนเจ้า”
อาจารย์พูดกับศิษย์คนหนึ่ง
“แต่นี่จะเป็นการทำร้ายตัวเจ้าเอง
เพราะเจ้าไม่ยอมมองดูสิ่งต่างๆ
ด้วยตัวของเจ้าเอง”
หลังจากที่เงียบไปครู่หนึ่งแล้ว
อาจารย์ก็กล่าวต่ออย่างนุ่มนวลอ่อนหวาน
“และทำร้ายตัวฉันด้วย
เพราะเจ้าไม่ยอมมองฉัน
อย่างที่ฉันเป็น”
…………………………………….
ความสุภาพ
ผู้มาเยือนคนหนึ่งพูดถึงตนเองว่า
เป็นผู้เสาะหาความจริง
อาจารย์จึงกล่าวว่า
“ถ้าเจ้าเสาะหาความจริงตามที่บอกจริง
มีสิ่งหนึ่งที่เจ้าจะต้องมีไว้ก่อนอื่นหมด”
“ผมทราบแล้ว สิ่งนั้นคือ
ความกระหายที่จะได้พบความจริง
“ไม่ใช่ สิ่งนั้นคือ ความพร้อมอยู่เสมอ
ที่จะยอมรับว่าเจ้าผิดพลาดได้”
…………………………………….
แสงสว่าง
อาจารย์ป่วยหนัก ถึงขั้นโคม่า
และนอนซมอยู่บนเตียงเป็นอาทิตย์ๆ
วันหนึ่ง อาจารย์ลืมตาขึ้นมาอย่างทันทีทันใด
และเห็นศิษย์คนโปรดอยู่ข้างเตียง
“เจ้าไม่เคยละจากเตียงฉันไปเลยใช่ไหม?”
อาจารย์ถามด้วยความปราณี
“ไม่เคยเลย อาจารย์ ผมทำไม่ได้”
“ทำไม?”
“เพราะอาจารย์เป็นแสงสว่าง
แห่งชีวิตของผม”
อาจารย์ถอนหายใจ ก่อนจะพูดต่อ
“ฉันคงจะทำให้ตาเจ้าพร่าไปมาก
จนเจ้ายังไม่ยอมเห็นแสงสว่าง
ในตัวเจ้าเลยใช่ไหม?”
…………………………………….
การแผ่ขยาย
อาจารย์ฟังการบรรยาย
ของนักเศรษฐศาสตร์
ที่กล่าวถึงโครงการแผ่ขยายธุรกิจ
“การเติบโตแผ่ขยาย
เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพียงอย่างเดียว
ในด้านเศรษฐกิจหรือ?”
อาจารย์ถาม
“ถูกต้อง การเติบโตแผ่ขยายทุกอย่าง
ไม่ว่าอะไร เป็นสิ่งที่ดีในตัวมันเอง
“ไม่รู้ว่า เซลล์มะเร็ง
จะจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วยหรือเปล่า?”
อาจารย์แย้งถาม
…………………………………….
ความยิ่งใหญ่
“ทำอย่างไร ผมจึงจะเป็นคนยิ่งใหญ่...
แบบท่านได้?”
“ทำไมจะต้องเป็นคนยิ่งใหญ่?”
อาจารย์ย้อนถาม
“การเป็นคน
ก็เป็นความยิ่งใหญ่ที่เพียงพอแล้ว”
…………………………………….
ความผิด
อาจารย์สอนเสมอว่า
ความผิดเป็นสิ่งที่ต้องหลีกหนี
ดังที่เราหลีกหนีปีศาจ
และความผิดทุกอย่าง
“แต่เราต้องเกลียดบาปทุกอย่างของเรา
อยู่แล้วไม่ใช่หรือ?”
ศิษย์คนหนึ่งถาม
“เมื่อเจ้าทำผิด
เจ้าไม่ได้เกลียดบาปของเจ้าหรอก
แต่เกลียดตัวเจ้าเองต่างหาก”
…………………………………….
ชีวิต
หลายสัปดาห์มาแล้ว
ในที่ประชุม
ได้มีการพูดถึงชีวิตหลังจากความตาย
อาจารย์ ได้แต่หัวเราะ
แต่ไม่ยอมตอบคำถามใดๆ
ศิษย์พากันถามสาเหตุที่อยู่เบื้องหลัง
อาจารย์จึงตอบว่า
“พวกเจ้าสังเกตหรือเปล่าว่า
มีแต่เฉพาะพวกที่ไม่รู้จะทำอะไรกับชีวิตนี้เท่านั้น
ที่อยากจะมีอีกชีวิตหนึ่ง ที่จะคงอยู่นิรันดร?”
“แต่ชีวิตหลังจากความตาย มีหรือไม่มี?”
ศิษย์พากันรบเร้าจะเอาคำตอบ
“แล้วมีชีวิตก่อนความตายหรือเปล่า?...
นี่สิคือปัญหา!”
อาจารย์ตอบอย่างน่าคิด
…………………………………….
ท้าทาย
ศิษย์ที่เฉื่อยชาคนหนึ่งบ่นกับอาจารย์
ว่าเขายังเข้าไม่ถึงความเงียบ
ที่อาจารย์กล่าวยกย่องอยู่บ่อยๆ
อาจารย์ตอบว่า
“ความเงียบจะเกิดขึ้น
กับคนที่ขยันขันแข็งเท่านั้น”
…………………………………….
อุดมการณ์
ผู้ฝักใฝ่การเมืองกลุ่มหนึ่งพยายามชี้แจง
ให้อาจารย์เห็นว่า
อุดมการณ์ของพวกเขา
สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
อาจารย์ได้แต่ฟังอย่างสนใจ
วันรุ่งขึ้น อาจารย์กล่าวว่า
“อุดมการณ์เป็นสิ่งที่ดีหรือชั่ว
ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนนำไปใช้
ถ้าหมาป่าพันตัวชุมนุมกัน
เพื่อส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม
หมาป่าทั้งพันตัวนี้
จะเลิกเป็นหมาป่าได้อย่างนั้นหรือ?”
…………………………………….
ศีลธรรม
บ่อยครั้ง ศิษย์จะหมกมุ่นกับปัญหา
ของความดีและความชั่ว
บางครั้ง ก็ได้คำตอบที่ชัดเจน
บางครั้ง คำตอบนั้นยังคลุมเครืออยู่
ส่วนอาจารย์ หากร่วมการถกเถียงปัญหานี้
ก็จะไม่ออกความคิดเห็น
ครั้งหนึ่ง มีคนถามอาจารย์ว่า
“การฆ่าคนที่พยายามจะฆ่าผม ผิดไหม?”
อาจารย์ตอบ “ฉันจะไปรู้ได้อย่างไร?”
ศิษย์รู้สึกไม่แน่ใจ จึงถามต่อ
“แล้วเราจะสามารถแยกแยะได้อย่างไร
ว่าอะไรดีอะไรชั่ว?”
อาจารย์ตอบ
“ในชีวิต
ถ้าพวกเจ้าตายจากตัวเจ้าเอง
อย่างเด็ดขาดแล้ว
เวลานั้นเจ้าจะทำอะไรก็ได้
และกิจการของพวกเจ้าจะถูกต้องเสมอ”
…………………………………….
จินตนาการ
“อะไรคือศัตรูตัวสำคัญของการรู้แจ้ง?”
“ความกลัว”
“และอะไรที่ก่อให้เกิดความกลัว?”
“การหลอกลวง”
“และการหลอกลวงคืออะไร?”
“คือคิดว่าดอกไม้ที่อยู่รอบข้างตัวเจ้าเป็นงูพิษ”
“แล้วผมจะได้รับการรู้แจ้งได้อย่างไร?”
“ด้วยการเปิดตามอง”
“มองอะไร?”
“มองให้เห็นว่ารอบ ๆ ตัวเจ้าไม่มีงูแม้แต่ตัวเดียว”
…………………………………….
ความคิดเห็น
ศิษย์คนหนึ่งเป็นคนขลาดกลัว
แต่อยากจะมีความมั่นใจในตนเอง
อาจารย์สอนว่า
“เจ้าหาความมั่นใจในสายตาของคนอื่น
และเชื่อว่านั่นเป็นความมั่นใจในตนเอง”
“ถ้าเช่นนั้น ผมไม่ต้องให้ความสำคัญ
แก่ความคิดเห็นของคนอื่นหรือ?”
“ตรงกันข้าม
จงให้ความสำคัญแก่ทุกสิ่งที่คนอื่นพูด
แต่อย่าให้สิ่งที่คนอื่นพูดคอยควบคุมตัวเจ้า”
“แล้วผมจะต้องทำอะไร
เพื่อจะได้หลุดพ้นจากการควบคุมนี้?”
“ก็ทำอย่างที่เจ้าทำ
เพื่อหลุดพ้นจากการหลอกลวงนั่นแหละ”
…………………………………….
ความกลัว
“ผมจะต้องทำอะไร
เพื่อจะหลุดพ้นจากความกลัว?”
“แล้วเจ้าทำอะไรบ้าง
เพื่อจะหลุดจากสิ่งที่เจ้าเกาะยึดอยู่?
“ท่านหมายความว่า
ผมเกาะยึดความกลัวไว้อย่างนั้นหรือ?
ผมไม่เห็นด้วย”
“จงพิจารณาดูให้ดีว่า
ความกลัวช่วยปกป้องเจ้าจากอะไร
แล้วเจ้าจะเห็นด้วยกับที่ฉันบอก
และเจ้าจะรู้ถึงความโง่เขลาของเจ้าเอง”
…………………………………….
ความสำนึกตน
“เราจะได้ความรอด
โดยอาศัยกิจการหรือการรำพึง?”
“ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง
ความรอดได้มาจากการเห็น”
“เห็นอะไร?”
“เห็นว่าสร้อยคอทองคำที่เจ้าอยากจะได้
แขวนอยู่ที่คอของเจ้าแล้ว
เห็นว่างูตัวที่เจ้ากลัวมากนั้น
เป็นเพียงแค่เชือกเส้นหนึ่งบนพื้น”
…………………………………….
การรู้แจ้ง
เมื่อเห็นอาจารย์อารมณ์ดี
ศิษย์จึงกล้าถามว่า
“โปรดบอกเราหน่อย
ว่าท่านได้รับอะไรจากการรู้แจ้งบ้าง?
ทานกลับเป็นเทวะหรือ?”
“ไม่”
“ท่านกลับเป็นนักบุญหรือ?”
“ไม่”
“ถ้าเช่นนั้น ท่านได้เป็นอะไร?”
“ตื่นนอน”
…………………………………….
การไม่ติดใจ
ศิษย์หลายคนแปลกใจ
ในการที่อาจารย์ดำเนินชีวิตอย่างเรียบซื่อ
แต่ไม่เคยตำหนิผู้ติดตามที่มั่งคั่งเลย
“คนรวยและศักดิ์สิทธิ์หาได้ยาก
แต่ไม่หมายความว่าเป็นไปไม่ได้”
อาจารย์กล่าวขึ้นในวันหนึ่ง
“เป็นไปได้อย่างไร?”
“เป็นไปได้ ถ้าเงินทองก่อให้เกิดผลในดวงใจเขา
เหมือนกับที่เงาไผ่นั้นก่อให้เกิดผลบนพื้นดิน”
ศิษย์ต่างหันไปมอง
เห็นเงาไผ่ที่กวัดแกว่งไปมาบนพื้นดิน
โดยไม่ทำให้ฝุ่นดินฟุ้งกระจายแม้แต่น้อย
…………………………………….
ความแตกต่าง
ขณะอาจารย์เดินเล่นกับศิษย์บางคนริมฝั่งแม่น้ำ
ก็พูดขึ้นว่า
“จงมองดูปลาที่เวียนว่ายไปมาตามใจชอบ
และนี่คือความสุขของปลา”
ชายแปลกหน้าคนหนึ่งได้ยินเช่นนั้น ก็กล่าวว่า
“ท่านรู้ได้อย่างไรว่าพวกมันมีความสุข...
ท่านไม่ใช่ปลานี่”
ศิษย์พากันตะลึง เมื่อได้ยินเช่นนั้น
อาจารย์ยิ้มตอบ
ยอมรับว่าเขาเป็นคนกล้าวิพากษ์วิจารณ์
แล้วก็ตอบอย่างรักใคร่ว่า
“แล้วท่านล่ะ เพื่อนรัก
ท่านรู้ได้อย่างไรว่า ฉันไม่ใช่ปลา...
เพราะท่านไม่ใช่ฉัน”
ศิษย์พากันหัวเราะชอบใจ
ถือว่านั่นเป็นการโต้ตอบที่สมควรแล้ว
แต่ชายแปลกหน้ารู้สึกทึ่ง
ในความลึกซึ้งของอาจารย์
เขาเฝ้าครุ่นคิดอยู่ทั้งวัน
ที่สุดก็ไปที่อารามพูดว่า
“อาจเป็นไปได้ ที่ท่านไม่ต่างไปจากปลา
อย่างที่ผมเคยคิดไว้
หรือผมต่างไปจากท่าน”
…………………………………….
สิ่งสร้าง
เป็นที่รู้กันว่า อาจารย์หนุนพวกปฏิวัติ
จนเป็นที่ไม่พอใจของผู้ว่าราชการ
แต่เมื่อมีคนถามว่า
ทำไมอาจารย์จึงไม่เข้าไปร่วมการปฏิวัติสังคมเลย
อาจารย์ก็ตอบด้วยสุภาษิตชวนคิดว่า
“แม้จะนั่งเงียบๆ
โดยไม่ต้องทำอะไร
ฤดูใบไม้ผลิก็มาถึง
และหญ้าก็งอกงามได้เอง”
…………………………………….
ความสุข
อาจารย์มีอารมณ์สดชื่น ราวกับวัยรุ่น
ทำให้ศิษย์อยากรู้อยากเห็นจึงถามว่า
“อาจารย์เคยรู้สึกเศร้าหรือไม่”
อาจารย์บอกว่าเคย
พวกเขาก็รบเร้าถามต่อว่า ถ้าเช่นนั้น
ก็ไม่เป็นความจริงที่ว่า อาจารย์มีความสุขเสมอ
เป็นความจริง อาจารย์ตอบ
พวกศิษย์จึงอยากจะรู้ความลับว่าทำไม
อาจารย์ตอบ
“ความลับคือ
ทุกอย่างจะดีหรือเลวขึ้นอยู่กับว่า
เราคิดให้มันเป็นอย่างไร”
…………………………………….
บ้าน
คำสอนของอาจารย์
ไม่เป็นที่พอใจของผู้ว่าราชการ
ทำให้อาจารย์ต้องถูกเนรเทศออกจากเมือง
ศิษย์พากันถามว่ารู้สึกคิดถึงบ้านบ้างหรือเปล่า
อาจารย์ก็ตอบว่า “ไม่เลย”
“แต่การคิดถึงบ้านเป็นธรรมชาติของมนุษย์”
พวกศิษย์ค้าน
อาจารย์ก็ตอบว่า
“เจ้าจะไม่รู้สึกว่าถูกเนรเทศอีกต่อไป
เมื่อเจ้าพบว่าสิ่งสร้างในธรรมชาติ
คือบ้านของเจ้า”
…………………………………….
การเปลี่ยนแปลง
นักประวัติศาสตร์คนหนึ่งมาเยี่ยมอาจารย์
“ความพยายามของเรา สามารถเปลี่ยน
แปลงประวัติศาสตร์ได้หรือไม่?”
“ได้ แน่นอน” อาจารย์ตอบ
“และกิจการมนุษย์ สามารถเปลี่ยนแปลง
แผ่นดินได้หรือไม่?”
“แน่นอน” อาจารย์ตอบ
“แล้วทำไมท่านจึงสอนว่า
ความพยายามของมนุษย์แทบจะไม่มีความสำคัญ?”
อาจารย์ตอบว่า
“เพราะว่า
เมื่อลมหยุดพัด ใบไม้ก็ยังคงร่วงต่อไป”
…………………………………….
การเล็งเห็น
เมื่ออาจารย์แก่ตัวและอ่อนกำลังลง
ศิษย์พากันขอร้องอาจารย์ไม่ให้ตาย
อาจารย์พูดว่า “ถ้าฉันไม่จากไป
พวกเจ้าจะเห็นได้อย่างไร?”
“เมื่ออาจารย์อยู่กับเรา เราไม่เห็นอะไรบ้าง?”
ศิษย์ถามด้วยความแปลกใจ
แต่อาจารย์ไม่ได้ตอบแต่อย่างใด
เมื่อเวลาแห่งความตายใกล้เข้ามาแล้ว
ศิษย์ถามอาจารย์อีกว่า “เมื่อท่านจากไปแล้ว
เราจะเห็นอะไร?”
อาจารย์ผงกศีรษะ พลางตอบว่า
“สิ่งที่ฉันได้ทำมา โดยตลอดคืน
นั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ตักน้ำแจกให้ทุกคน
เมื่อฉันจะจากไป ฉันหวังว่า พวกเจ้าจะ
สังเกตเห็นแม่น้ำ”
…………………………………….
ความทุกข์
ศิษย์กำลังถกเถียงกัน
เกี่ยวกับต้นเหตุของความทุกข์ทรมานของมนุษย์
บางคนว่า ต้นเหตุคือความเห็นแก่ตัว
บ้างก็ว่า เป็นความผิดหวัง
อีกบางคนก็ว่า เป็นเพราะการไม่รู้จักแยกแยะ
ระหว่างสิ่งที่จริงและไม่จริง
เมื่อพวกเขาถามความเห็นของอาจารย์
อาจารย์ก็พูดว่า
“ความทุกข์ทรมานทุกอย่าง
มาจากการที่คนไม่สามารถจะนั่งเงียบๆ
ตามลำพังได้”
…………………………………….
เป็นตัวตนเอง
อาจารย์ไม่เคยสนใจว่า
คนอื่นจะคิดอะไรถึงตัวเลย
เมื่อศิษย์ถามว่า ทำอย่างไรจึงจะ
สามารถลุถึงขั้นอิสรภาพภายในได้
อาจารย์หัวเราะชอบใจ และกล่าวว่า
“ก่อนถึงอายุยี่สิบปี ฉันไม่เคยสนใจเลยว่า
คนอื่นจะคิดอะไรถึงฉัน
เมื่ออายุยี่สิบปีแล้ว ฉันเป็นห่วงเหลือเกินว่า
คนที่อยู่ใกล้คิดอะไรถึงฉันบ้าง
แล้วมาวันหนึ่ง หลังจากที่อายุครบห้าสิบปีแล้ว
ฉันมาเข้าใจว่า
พวกเขาไม่ได้คิดอะไรถึงฉันแม้แต่น้อยนิด”
…………………………………….
ภูมิป้องกัน
ศิษย์แปลกใจมาก ที่อาจารย์ไม่ค่อยจะ
สนับสนุนการเรียนศาสนาของเยาวชน
เมื่อพวกเขาถามอาจารย์ถึงเหตุผล
อาจารย์ตอบว่า
“พวกเจ้าฉีดวัคซีนให้พวกเขาตั้งแต่เด็ก
เลยทำให้พวกเขาไม่สามารถจับแก่นสารได้
เมื่อพวกเขาโตขึ้น”
…………………………………….
ปริญญา
อาจารย์ไม่เคยประทับใจในปริญญาหรือ
ประกาศนียบัตร อาจารย์มักจะตรวจสอบคน
มากกว่าใบปริญญาที่เขามี
วันหนึ่งก็กล่าวกับศิษย์ว่า
“เมื่อเจ้ามีหูจะฟังนกร้อง
เจ้าก็ไม่ต้องไปสนใจดูใบรับรองเครดิตของมัน”
…………………………………….
ความดี
“ไม่มีอะไรดีหรือชั่วในตัวมันเอง
มีแต่เป็นความนึกคิดของมนุษย์
ที่ทำให้เป็นเช่นนั้น” อาจารย์กล่าว
เมื่อศิษย์ขอคำอธิบาย อาจารย์พูดว่า
“ชายคนหนึ่งจำศีลอดอาหารด้วยความยินดี
เจ็ดวันต่อสัปดาห์ ตามความศรัทธาแห่งศาสนา
ส่วนเพื่อนบ้านคนหนึ่งตาย
เพราะกินอาหารขนาดเท่ากัน”
…………………………………….
ธรรมดา
อาจารย์ชอบคนธรรมดา ๆ
และมักจะสงสัยใครที่เด่นในความศักดิ์สิทธิ์
ศิษย์คนหนึ่งมาปรึกษาอาจารย์
เกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน
อาจารย์ให้คำแนะนำว่า
“อย่าไปเลือกแต่งงานกับหญิงศักดิ์สิทธิ์”
“ทำไมครับ?”
“เพราะนั่นจะเป็นหนทางแน่นอน
ที่เจ้าจะเป็นมรณสักขี”
…………………………………….
ความกระตือรือร้น
หญิงคนหนึ่ง ตัดพ้อว่า
ความมั่งคั่งไม่ได้ทำให้เธอมีความสุขเลย
อาจารย์พูดว่า
“เจ้าพูดราวกับว่า
ความฟุ่มเฟือยและความสะดวกสบาย
เป็นองค์ประกอบของความสุขอย่างนั่นแหละ
แต่สิ่งที่เจ้าต้องการเพื่อจะมีความสุขอย่างแท้จริง
คือสิ่งที่เจ้ารู้สึกกระตือรือร้นต่างหาก”
…………………………………….
การนิ่งเฉย
นักอุตสาหกรรมมั่งคั่งคนหนึ่ง
ถามอาจารย์ว่า “ท่านมีอาชีพอะไร?”
“ไม่มี” อาจารย์ตอบ
นักอุตสาหกรรมหัวเราะเย้ยหยันในที
“นั่นไม่ใช่ความเกียจคร้านหรือ?”
“เปล่าเลย ตรงข้าม ความเกียจคร้าน
เป็นพยศชั่วของคนที่ชอบทำอะไรเสมอ”
หลังจากนั้น อาจารย์พูดกับศิษย์ว่า
“จงอย่าทำอะไร
แล้วทุกสิ่งจะถูกทำโดยทางพวกเจ้า
การไม่ทำอะไรเลย ไม่ใช่ของง่าย...
ไม่เชื่อก็ลองดูสิ”
…………………………………….
ความฉลาด
อาจารย์รู้สึกพอใจ ทุกครั้งที่ใครก็ตาม
ยอมรับว่าตนยังโง่เขลา
“ความฉลาดเพิ่มพูนขึ้น เป็นอัตราส่วน
กับความสำนึกในความโง่เขลาของตน”
อาจารย์ยืนยัน
เมื่อศิษย์ขอคำอธิบาย อาจารย์พูดว่า
“ถ้าเจ้ามาเข้าใจว่า วันนี้ เจ้าไม่ฉลาด
มากเท่ากับที่ได้คิดไว้เมื่อวานนี้
วันนี้เจ้าก็ฉลาดมากขึ้น”
…………………………………….
ความรัก
ชายหญิงคู่หนึ่งที่เพิ่งจะแต่งงานกัน
ถามอาจารย์ว่า
“เราต้องทำอะไร เพื่อให้ความรักของเรา
คงอยู่ถาวร?”
อาจารย์ตอบ
“จงรักสิ่งต่างๆ ด้วยกัน”
…………………………………….
ความมั่นคง
“ชีวิตจิต จะช่วยอะไร
คนในโลกแบบผมนี้ได้บ้าง?”
นักธุรกิจคนหนึ่งถามอาจารย์
“ช่วยเจ้าให้มีมากขึ้น”
อาจารย์ตอบ
“อย่างไร?”
“ก็ช่วยสอนเจ้า
ให้ปรารถนาน้อยลง”
…………………………………….
บุญลาภ
นักธนาคารคนหนึ่ง รู้สึกเศร้า
เพราะได้สูญเสียลาภก้อนใหญ่ไป
จึงได้มาที่อาราม เพื่อหาความสงบ
แต่ไม่อาจจะรำพึงได้ เพราะวุ่นวายใจ
หลังจากที่เขาจากไปแล้ว
อาจารย์กล่าวกับศิษย์ว่า
“คนที่นอนกับพื้น
ไม่มีวันจะตกเตียงได้เลย”
…………………………………….
สถานที่
อาจารย์ไม่ค่อยจะแนะนำใคร
ให้มาอยู่ในอาราม
“เพื่อจะได้รับประโยชน์จากหนังสือ
ไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในห้องสมุด”
อาจารย์มักจะให้เหตุผล
บางครั้งก็ชี้แจงเพิ่มเติมว่า
“เจ้าสามารถอ่านหนังสือได้
โดย ไม่ต้องเข้าห้องสมุด
และสามารถปฏิบัติชีวิตจิตได้
โดยไม่ต้องไปวัด”
…………………………………….
ความตาย
เมื่อเห็นว่า อาจารย์ใกล้จะตาย
ศิษย์ต่างพากันโศกเศร้า
อาจารย์ยิ้ม พลางพูดว่า
“พวกเจ้าไม่เข้าใจหรือว่า
ความตายให้ความงดงามแก่ชีวิต?”
“ไม่จริง ตรงข้าม เราไม่อยากให้
อาจารย์ตายเลย”
“ทุกสิ่งที่มีชีวิต ต้องตาย
จงมองดูดอกไม้สิ
มีแต่ดอกไม้พลาสติกเท่านั้น
ที่ไม่เหี่ยวเฉาตายไป”
…………………………………….
ผจญภัย
อาจารย์พูดสอนเกี่ยวกับชีวิต
วันหนึ่งอาจารย์เล่าว่า ได้พบกับนักบินคนหนึ่ง
ที่เคยขับเครื่องบินนำกรรมกรจากเมืองจีน
ไปทำงานสร้างทางในป่าพม่า ระหว่าง
สงครามโลกครั้งที่สอง
การเดินทางนั้นยืดยาวและน่าเบื่อหน่าย
กรรมกรจึงเล่นพนันเพื่อฆ่าเวลา
เนื่องจากพวกเขาไม่มีเงินติดตัวเลย
จึงใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน...
ใครแพ้ ต้องกระโดดออกจากเครื่องบิน
โดยไม่มีร่มชูชีพ
“น่ากลัวอะไรเช่นนั้น” ศิษย์พูดรู้สึกสยอง
“ใช่” อาจารย์กล่าว “แต่ก็ทำให้การเล่น
ตื่นเต้นดี”
ภายหลัง อาจารย์กล่าวสอนว่า
“เรา ไม่มีวันจะดำเนินชีวิตอย่างเต็มเปี่ยม
หากไม่เดิมพันด้วยชีวิต”
…………………………………….
ความไม่จีรัง
ศิษย์คนหนึ่งรบเร้าขอความฉลาด
อาจารย์กล่าวว่า “ลองทำอย่างนี้
จงหลับตาวาดภาพว่าเจ้าและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
กำลังตกลงไปในเหวลึก
ทุกครั้งที่เจ้าเกาะสิ่งใดไว้
เพื่อจะได้ไม่ตกลงไป
เจ้าก็เห็นว่า
สิ่งนั้น ๆ กำลังตกลงไปด้วยเหมือนกัน...”
ศิษย์ลองทำตามอาจารย์สั่ง
และเปลี่ยนไปเป็นคนละคน
…………………………………….
อิสระ
“ผมจะทำอย่างไรจึงจะเป็นอิสระ?”
“จงค้นหาดูซิว่า ใครเป็นคนจองจำเจ้า”
อาจารย์ตอบ
หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ศิษย์กลับมาหา
อาจารย์อีกครั้งหนึ่ง
“ไม่มีใครจองจำผมไว้เลย”
“แล้วทำไมเจ้าจึงหาวิธีจะเป็นอิสระอีกล่ะ?”
นั่นคือการรู้แจ้งของศิษย์คนนั้น เขารู้สึกตัวว่า
ตนเป็นอิสระขึ้นมาอย่างทันทีทันใด
…………………………………….
ขอบเขต
อาจารย์แสดงความสุภาพอ่อนโยน
กับอาจารย์คณบดีมหาวิทยาลัยที่มาเยี่ยม
แต่ไม่ตอบคำถามของพวกเขา
หรือปล่อยให้พวกเขาชักนำเข้าไปในเรื่อง
ทฤษฎีต่าง ๆ
ศิษย์ต่างแปลกใจ
อาจารย์จึงชี้แจงว่า
“เราจะพูดถึงมหาสมุทรกับกับที่อยู่ในแอ่งน้ำ
หรือพูดถึงพระเจ้ากับคนที่คับแคบ
ในความนึกคิดของตนได้อย่างไร?”
…………………………………….
สถานภาพ
แม้จะเอ็นดูต่อศิษย์ทุกคน
แต่อาจารย์ให้ความรักแก่ศิษย์ที่เจริญชีวิตในโลก
ที่แต่งงาน ค้าขาย ทำเกษตร...
มากกว่าศิษย์ที่อาศัยอยู่ในอาราม
เมื่อมีคนทักท้วง อาจารย์ให้เหตุผลว่า
“ชีวิตจิตที่ปฏิบัติในฐานะที่เต็มด้วยกิจการ
สูงส่งกว่าทีปฏิบัติ
ในฐานะชีวิตที่ถอยห่างจากโลกมากนัก”
…………………………………….
ธรรมชาติ
นักปราศรัยคนหนึ่ง อธิบายว่า ทุกวันนี้
เงินจำนวนมหาศาล ที่ถูกใช้จ่ายไป
ในการสร้างอาวุธ สามารถนำไปแก้ไข
ความอดอยากของโลกที่สามได้
เมื่อจบการปราศรัยศิษย์มีปฏิกิริยาต่าง ๆ กัน
“ทำไมมนุษย์เราจึงโง่เง่าเช่นนี้?”
“ก็เพราะว่า” อาจารย์ตอบอย่างสง่า
“คนเรียนรู้แค่อ่านหนังสือที่ตีพิมพ์
และลืมศิลปะในการอ่านหนังสือ
ที่ไม่มีตีพิมพ์น่ะซี”
“โปรดยกตัวอย่างหนังสือ
ที่ไม่มีตีพิมพ์สักเล่มหนึ่ง”
อาจารย์ไม่ตอบ
วันหนึ่ง เมื่อเห็นว่าศิษย์รบเร้า
อาจารย์จึงกล่าวว่า
“เสียงนกร้อง
เสียงแมลง ต่างประกาศความจริง
ต้นไม้และดอกไม้ ต่างชี้หนทาง
จงฟัง จงมอง
นี่คือวิธีการอ่านหนังสือ”
…………………………………….
สวรรค์
ศิษย์คนหนึ่งเป็นห่วง
ถึงชีวิตหลังจากความตายมาก
อาจารย์จึงกล่าวว่า “ทำไม
เสียเวลานั่งคิดถึงเรื่องโลกหน้า?”
“เป็นไปได้หรือที่จะไม่คิด?”
“แน่นอน”
“ทำอย่างไร”
“ก็ด้วยการดำเนินชีวิตในสวรรค์
ที่นี่และเดี๋ยวนี้”
“แล้วสวรรค์นี้อยู่ที่ไหน?”
“ที่นี่ และเดี๋ยวนี้”
…………………………………….
การเข้าใจ
“อะไรที่ทำให้ท่านได้รู้แจ้ง?”
“ความยินดี”
“ความยินดีคืออะไร?”
“คือการเข้าใจว่า เมื่อเจ้าสูญเสียทุกสิ่ง
เจ้าก็สูญเสียแค่เครื่องเล่นชิ้นหนึ่งเท่านั้น”
…………………………………….
ความศักดิ์สิทธิ์
อาจารย์กล่าวยืนยันบ่อยๆ ว่า
ความศักดิ์สิทธิ์ไม่อยู่ในการทำ
แต่อยู่ในการปล่อยให้เกิดขึ้น
ศิษย์กลุ่มหนึ่งไม่เข้าใจ อาจารย์จึงเล่าเรื่อง
เพื่ออธิบายว่า
ครั้งหนึ่ง มังกรตัวหนึ่งที่มีเพียงขาเดียว
พูดกับกิ้งกือว่า
“เจ้าทำอย่างไร จึงสั่งขาทุกอันได้?
ฉันมีแค่ขาเดียว ยังจะยากอยู่แล้ว”
“บอกกันตามจริงแล้” กิ้งกือตอบ
“ฉันไม่เคยสั่งมันเลย”
…………………………………….
เสียง
ทุกเช้า อาจารย์จะตอบคำถาม
ที่ศิษย์ถาม ด้วยความจริงจัง บางครั้งก็
มีมุขตลก บางครั้งก็นิ่มนวล บางครั้งหนักแน่น
ศิษย์หญิงคนหนึ่ง นั่งเงียบ
ไม่เคยพูดเลยในแต่ละครั้งที่มีการถามตอบ
เมื่อมีศิษย์อื่น ๆ ถามสาเหตุ เธอก็ตอบว่า
“ฉันไม่ได้ยินที่อาจารย์พูดแม้แต่คำเดียว
ฉันมัวแต่จดจ่อ
กับสิ่งที่อาจารย์พูดด้วยความเงียบอยู่”
…………………………………….
ความคิด
“ทำไมท่านจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญแก่ความคิดนัก?”
นักปรัชญาคนหนึ่งถามอาจารย์
“ความคิดเป็นเครื่องมืออย่างเดียวที่เรามี
สำหรับจัดการสิ่งต่างๆ ในโลก”
“เป็นความจริง แต่ความคิดสามารถ
จัดการสิ่งต่าง ๆ ในโลกอย่างดีเยี่ยม
จนกระทั่งท่านมองไม่เห็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอีกเลย”
หลังจากนั้น อาจารย์กล่าวกับศิษย์ว่า
“ความคิดเป็นดังจอภาพ ไม่ใช่กระจกเงา
และเพราะเหตุนี้เอง คนที่ดำเนินชีวิต
อยู่แค่เปลือกนอกของความคิด จะไม่
สามารถเข้าถึงความจริงได้เลย”
…………………………………….
ความรักกลมเกลียว
ฤาษีจากอารามใกล้เคียง
มาพบอาจารย์ เพื่อขอความช่วยเหลือ
เนื่องจากพวกเขาได้มีการถกเถียงกันอย่างรุนแรง
พวกเขาเคยได้ยินว่า
อาจารย์มีเทคนิคในการสร้างความรัก
และความกลมเกลียวขึ้นในกลุ่มอย่างมีประสิทธิผล
อาจารย์สอนว่า
“ทุกครั้งที่เจ้าอยู่กับใครคนหนึ่ง
หรือคิดถึงใครคนหนึ่ง
จงบอกตนเองว่า ฉันกำลังจะตาย
และเขาก็กำลังจะตายด้วย
แล้วพยายามเข้าถึงความจริงของสิ่งที่เจ้ากำลังพูด
ถ้าเราแต่ละคน ตกลงกันที่จะปฏิบัติตามนี้
ความขมขื่นจะหายไป
และความกลมกลืน จะเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอน”
…………………………………….
การอวยพร
เจ้าของร้านยาคนหนึ่งเป็นทุกข์โศกเศร้า
มาหาอาจารย์ เพื่อบอกว่า ตรงข้ามร้านยาของเขา
มีคนมาเปิดซุปเปอร์มาร์เกต
และแย่งลูกค้าเขาไปเกือบหมด
ครอบครัวเขาดำเนินกิจการมาเป็นศตวรรษแล้ว
การจะต้องเปิดร้าน
หมายถึงความหายนะของครอบครัวทั้งหมด
เพราะเขาไม่รู้จักอาชีพอื่นเลย
อาจารย์กล่าวว่า
“ถ้าเจ้ากลัวเจ้าของซุปเปอร์มาร์เกต
เจ้าก็จะเกลียดชังเขา และความเกลียดชังนี้แหละ
ที่เป็นตัวบ่อนทำลายเจ้าในที่สุด”
“แล้วผมจะต้องทำอะไร?”
เจ้าของร้านยาถามด้วยความเป็นห่วง
“ทุกเช้า เจ้าจงออกไปยืนหน้าร้านของเจ้า
แล้วกล่าวอวยพรร้านเจ้าให้รุ่งเรือง
แล้วจงหันไปทางซุปเปอร์มาร์เกต
และอวยพรเช่นเดียวกัน”
“อะไรกัน จะให้ผมอวยพรคู่แข่ง
ที่ทำให้ผมต้องล่มจมหรือ?”
“พรทุกอย่างที่เจ้าให้เขา
จะหวนกลับมาเป็นประโยชน์สำหรับเจ้า
และการสาปแช่งที่เจ้าสาปแช่งเขา
จะหวนกลับมาทำลายเจ้า”
หลังจากนั้นหกเดือน
เจ้าของร้านยากลับมาหาอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง
และบอกว่า เขาต้องเปิดร้าน ตามที่คาดคิดไว้
แต่เดี๋ยวนี้เขาถูกรับเข้าทำงานในซูปเปอร์มาร์เกตนั้น
และกำลังรุ่งเรืองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
…………………………………….
บาป
คำสอนอย่างหนึ่ง ที่แปลกแต่น่าชื่นชอบ
ที่อาจารย์สอนคือ
พระเจ้าทรงอยู่ใกล้คนบาปมากกว่านักบุญ
และอาจารย์ก็อธิบายว่า
ในสวรรค์พระเจ้าทรงโยงแต่ละคนด้วยเชือก
เมื่อใครทำบาป ก็ทำให้เชือกขาด
พระเจ้าจะทรงผูกเงื่อนต่อเชือกใหม่...
และโดยวิธีนี้
คนที่ทำบาปยิ่งทียิ่งใกล้พระองค์เข้าไปเรื่อยๆ...
“ทุกครั้งที่บาปของเจ้า ตัดเชือกขาด
พระองค์ก็ทรงต่อเชือกใหม่
และเช่นนี้เจ้าก็เข้าไปใกล้พระองค์ทุกที”
…………………………………….
การรักษาเยียวยา
ชายอมทุกข์คนหนึ่งไปหาอาจารย์
เพื่อขอให้อาจารย์ช่วย
อาจารย์บอกว่า “เจ้าอยากจะรักษาจริงหรือ?”
“ถ้าผมไม่อยาก
ผมจะลำบากดั้นด้นมาหาท่านทำไม?”
“อา ใช่ แต่หลายคนทำนะ”
“เพื่ออะไร?”
“ไม่ใช่เพื่อรักษา เพราะมันเจ็บปวด
แต่เพื่อจะหาความบรรเทาใจ”
แล้วอาจารย์กล่าวแก่ศิษย์อื่นๆ ว่า
“คนที่ต้องการรักษาเยียวยา
แต่ไม่อยากจะเจ็บปวด
ก็เหมือนกับคน
ที่ต้องการจะส่งเสริมการพัฒนาก้าวหน้า
แต่ไม่อยากจะให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ”
ความจริง
ผู้มาเยือนคนหนึ่งถือว่า
ตนไม่ต้องเสาะหาความจริง
เพราะพบความจริงในความเชื่อมั่น
ที่มีต่อหลักศาสนาแล้ว
อาจารย์กล่าวว่า
“นักศึกษา ไม่มีวันจะเป็นนักคณิตศาสตร์ได้
หากเอาแต่เชื่ออย่างตาบอด
ในคำตอบท้ายเล่ม
แม้จะเป็นคำตอบที่ถูกต้องหมด”
…………………………………….
ความเชื่อ
อาจารย์อ้างถึงคำพูดของอริสโตเติลที่ว่า
“ในการเสาะหาความจริงนั้น
เป็นการดีและจำต้องสละ
แม้แต่สิ่งที่รักและหวงแหนมากที่สุด
และนำมาประยุกต์ในการเสาะหาพระเจ้า
ด้วยการใส่คำ “พระเจ้า” แทน “ความจริง”
หลังจากนั้น ศิษย์คนหนึ่งถามว่า
“ผมพร้อมที่จะสละหมดทุกอย่าง
เพื่อเสาะหาพระเจ้า
ไม่ว่าเป็นความมั่นคั่ง เพื่อน ครอบครัว
ประเทศชาติ และแม้กระทั่งชีวิตเอง
ยังจะมีอะไรที่ผมต้องสละอีก?”
อาจารย์ตอบเสียงเรียบๆ ว่า
“สละความตระหนักใจที่เจ้ามี
เกี่ยวกับพระเจ้า”
ศิษย์จากไป ด้วยความเป็นทุกข์
เพราะเขาเป็นคนยึดถือความคิดเห็นของตนมาก
เขากลัวความโง่เขลา
มากกว่าความตายเสียอีก
…………………………………….
การสั่งสอน
“อาจารย์ท่านสอนอะไรบ้าง?”
ผู้มาเยือนถามศิษย์คนหนึ่ง
“ไม่ได้สอนอะไร” เขาตอบ
“ท่านเพียงแต่ชี้แนะหนทาง
แต่ไม่ได้สอนอะไร”
ผู้มาเยือนไม่เข้าใจ ศิษย์จึงอธิบายว่า
“ถ้าอาจารย์สอนอะไร
เราคงจะนำคำสอนมาเป็นบทความเชื่อแล้ว
อาจารย์ไม่ได้สนใจสิ่งที่เราเชื่อ
แต่สนใจแค่สิ่งที่เราเห็น”
ต้นกำเนิด
ศิษย์หญิงคนหนึ่งฉลองวันคล้ายวันเกิด
“เจ้าต้องการของขวัญอะไร
สำหรับวันคล้ายวันเกิดของเจ้า”
อาจารย์ถาม
“อะไรก็ได้ ที่จะช่วยให้ข้าพเจ้าได้รู้แจ้ง”
อาจารย์ยิ้ม ที่จะช่วยให้ข้าพเจ้าได้รู้แจ้ง”
อาจารย์ยิ้ม ก่อนที่จะกล่าวว่า
“บอกฉันหน่อยซิว่าเมื่อเจ้าเกิดมา เจ้าเข้ามาในโลก
ดังดาวดวงหนึ่งจากท้องฟ้า
หรือเจ้ามาในโลก
ดังใบไม้งอกจากต้นไม้?”
ศิษย์หญิงนำคำถามของอาจารย์ไปครุ่นคิดตลอดวันนั้น
แล้วทันทีทันใดก็พบคำตอบ
และลุถึงการรู้แจ้ง
…………………………………….
ตัวฉัน
วันหนึ่ง อาจารย์ถามว่า
“ตามความคิดเห็นของพวกเจ้า
คำถามใดเกี่ยวกับศาสนา
เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด?”
คำตอบมีแตกต่างกันไป
“พระเจ้ามีจริงหรือ?”
“หนทางไหนที่พาไปถึงพระเจ้า?”
“มีชีวิตต่อจากความตายหรือไม่?”
“ไม่ใช่ทั้งนั้น” อาจารย์กล่าว
“คำถามที่สำคัญที่สุดคือ “ฉันเป็นใคร?” ”
พวกศิษย์มาเข้าใจภายหลัง
เมื่อได้ยินอาจารย์พูดกับนักเทศน์คนหนึ่ง
อาจารย์ “ตามความเห็นของท่าน
เมื่อตายไปวิญญาณของท่านไปสวรรค์ใช่ไหม?”
นักเทศน์ “ใช่”
อาจารย์ “และร่างกายของท่าน
อยู่ในหลุมใช่ไหม่?”
นักเทศน์ “ใช่”
อาจารย์ “แล้วท่านละ จะอยู่ไหน?”
…………………………………….
พระเจ้า
“ผมอยากจะเห็นพระเจ้า”
“เจ้ากำลังมองเห็นพระองค์อยู่เวลานี้แล้ว”
อาจารย์บอก
“แล้วทำไมผมจึงไม่เป็นพระองค์?”
“ก็ทำไมตาจึงมองไม่เห็นตัวมันเอง?”
อาจารย์ตอบ
หลังจากนั้น อาจารย์อธิบายว่า
“การจะขอให้พระเจ้าทรงเผยพระองค์เอง
ก็เหมือนกับขอให้มีดตัดตัวมันเอง
หรือให้ฟันกัดตัวมันเอง”
…………………………………….
พูดถึงพระเจ้า
“ทุกคำพูด ทุกภาพพจน์
ที่ใช้เพื่อกล่าวถึงพระเจ้า
บิดเบือนความจริงเกี่ยวกับพระองค์
มากกว่าจะเป็นการบรรยายถึงพระองค์”
“แล้วเราจะพูดถึงพระองค์ได้อย่างไร?”
“ด้วยความเงียบ”
“แล้วทำไมท่านยังพูดด้วยคำพูดอยู่อีก?”
อาจารย์หัวเราะชอบใจ แล้วตอบว่า
“เมื่อฉันพูด พวกเจ้าอย่าฟังคำพูด
แต่จงฟังความเงียบ”
…………………………………….
แก่นสาร
นักเดินทางคนหนึ่งกล่าวกับศิษย์ว่า
“ฉันอุตส่าห์มาจากแดนไกล
เพื่อจะได้ฟังอาจารย์ท่านพูด
แต่แล้วก็ไม่เห็นว่า มีอะไรพิเศษ
ในคำพูดของอาจารย์เลย”
“ท่านอย่าไปฟังคำพูดของอาจารย์
แต่จงฟังสาสน์ของอาจารย์สิ”
“จะทำได้อย่างไร?”
“ท่านจงจับคำพูดของอาจารย์ประโยคหนึ่ง
แล้วมากลั่นกรอง จนกระทั่งคำพูดหายไปหมด
สิ่งที่เหลือนั่นแหละ จะจุดหัวใจของท่าน
ให้ลุกร้อนเป็นไฟ”
…………………………………….
ความเงียบ
บ่อยครั้งที่มีคนจำนวนมากมาเยี่ยมอาราม
ก่อให้เกิดเสียงรบกวนอย่างมาก
เสียงเหล่านี้สร้างความรำคาญแก่ศิษย์ยิ่งนัก
แต่อาจารย์กลับมีท่าทางพอใจเสมอ
ไม่ว่าจะมีเสียงรบกวน หรือความเงียบสงบ
วันหนึ่ง
ศิษย์พูดประท้วงเสียงรบกวนเหล่านี้
อาจารย์ก็ชี้แจงว่า
“ความเงียบ
ไม่ใช่การไม่มีเสียง
แต่เป็นการไม่มี “ตัวฉัน” ต่างหาก”
…………………………………….
กิจการ
เป็นที่รู้กันดีว่า อาจารย์ชอบกิจการ
มากกว่าการเข้าเงียบ
แต่จะย้ำเสมอว่า
ต้องเป็นกิจการ
ที่เป็นผลจากการรู้แจ้ง
ศิษย์ต้องการจะรู้ว่า ที่อาจารย์กล่าวว่า
กิจการที่เป็นผลมาจากการรู้แจ้ง
หมายถึงกิจการที่ทำด้วยเจตนารมณ์ซื่อตรงหรือไม่
“โอ ไม่ใช่” อาจารย์ตอบ
“พวกเจ้าคิดดูเถอะ
ลิงตัวหนึ่งมีเจตนารมณ์ซื่อตรงแค่ไหน
เมื่อมันจับปลาขึ้นมาจากแม่น้ำ
เพราะกลัวว่าปลาจะจมน้ำตาย!”
…………………………………….
ชีวิตจิต
“ชีวิตจิตจะให้อะไรผมได้บ้าง?”
คนติดเหล้าถามอาจารย์
“ความเมา ที่ไม่มีแอลกอฮอล์”
อาจารย์ตอบ
…………………………………….
สิ่งภายนอก
อาจารย์มักกล่าวตำหนิ
สิ่งที่ปรากฏภายนอกแบบมหัศจรรย์
และถือว่า สิ่งที่เกี่ยวกับพระเจ้า
มักจะปรากฏออกมาเป็นสิ่งธรรมดาสามัญ
ศิษย์คนหนึ่งบำเพ็ญพรตจนลุขั้นสูงส่ง
สามารถทำสิ่ง ประหลาดมหัศจรรย์ได้
อาจารย์กล่าวว่า
“ความศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งลึกลับ
ยิ่งศักดิ์สิทธิ์มาก
ยิ่งจะสังเกตไม่เห็น”
…………………………………….
ความศักดิ์สิทธิ์
นักเทศน์คนหนึ่ง พูดซ้ำไปซ้ำมาว่า
“เราต้องนำพระเจ้ามาไว้ในชีวิตของเรา”
อาจารย์แย้งว่า
“พระองค์ทรงอยู่ในชีวิตเราแล้ว
หน้าที่ของเราคือ สร้างความสำนึกว่า
พระองค์ทรงอยู่ในชีวิตเรา”
…………………………………….
ความใจดี
“ผมจะต้องทำอย่างไร
เพื่อจะรักเพื่อนพี่น้อง?”
“จงเลิกเกลียดตัวเอง”
ศิษย์ครุ่นคิดอยู่นานถึงคำพูดของอาจารย์
แล้วก็กลับมาหาอาจารย์พูดว่า
“แต่ ผมรักตัวเองมากเกินไปอยู่แล้ว
ผมจึงเห็นแก่ตัวและคิดถึงแต่ตัวเอง
ผมจะหลุดพ้นจากตนเองได้อย่างไร?”
“จงเอื้อเฟื้อต่อตัวเจ้าเอง
เมื่อตัวเจ้าพอใจแล้ว
มันก็จะปล่อยให้เจ้ารักเพื่อนพี่น้องได้”
…………………………………….
การยอมรับ
หญิงคนหนึ่งเศร้าโศกมาหาอาจารย์
เพราะต้องสูญเสียลูกชายไป
อาจารย์ก็พยายามปลอบใจเธอ
อาจารย์ฟังเรื่องราวแห่งความเศร้า
ที่หญิงคนนั้นเล่าให้ฟังด้วยความพากเพียร
แล้วอาจารย์กล่าวอย่างอ่อนหวานว่า
“หญิงเอ๋ย
ฉันไม่สามารถจะทำให้น้ำตาเธอ
เหือดแห้งได้
แต่ฉันสามารถสอนเธอ
ทำให้น้ำตาเธอมีค่าและศักดิ์สิทธิ์ได้”
…………………………………….
ความคิด
พ่อแม่คู่หนึ่งพร่ำบ่นกับอาจารย์
ว่าลูกชายได้ละทิ้งขนบธรรมเนียมศาสนา
และประกาศตนเป็นนักคิดอิสระ
อาจารย์กล่าวว่า
“อย่าเป็นห่วงไปเลย
ถ้าลูกชายคิดด้วยหัวตัวเองจริงๆ
จะมีวันหนึ่ง ที่หัวเขาจะนำเขากลับมา
ยังที่ที่เขาควรจะอยู่เองแหละ”
…………………………………….
การรู้แจ้ง
ศิษย์คนหนึ่งเดินทางมาจากแดนไกล
อาจารย์ถามเขาว่า
“เจ้ากำลังเสาะหาอะไร?”
“การรู้แจ้ง”
“เจ้ามีขุมทรัพย์ในตัวเจ้า
ทำไมยังไปเสาะหาที่อื่นอีกล่ะ?”
“ขุมทรัพย์อะไร?”
“ก็ความกังวลที่เจ้าเสาะหานี่น่ะสิ”
“ตั้งแต่เวลานั้น ศิษย์คนนั้นก็ลุถึงการรู้แจ้ง
หลายปีต่อมา เขามักจะบอกเพื่อนๆ ว่า
“จงค้นหาขุมทรัพย์ในตัวเพื่อนกันเถอะ
แล้วเพื่อนจะพึงพอใจ”
…………………………………….
เกินเอื้อม
ศิษย์พยายามจะเสาะหาการรู้แจ้ง
แต่ไม่รู้ว่าการรู้แจ้งคืออะไร
และจะได้มาอย่างไร
อาจารย์กล่าวว่า
“การรู้แจ้งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหามาได้
พวกเจ้าไม่อาจจะยึดจับมันได้”
เมื่อเห็นสีหน้าผิดหวังของศิษย์
อาจารย์ก็กล่าวเพิ่มเติมว่า
“จงอย่าเสียใจเลย
เพราะพวกเจ้าจะไม่เสียมันไปด้วย”
ตั้งแต่วันนั้นมา ศิษย์ต่างเสาะหา
สิ่งที่พวกเขาไม่สามารถทั้งยึดจับ
หรือเสียไปได้
…………………………………….
คำพูด
ศิษย์กำลังถกเถียงกัน
ถึงคำพูดของเล่าสูที่ว่า
“คนที่รู้มักไม่พูดคนที่พูดมักไม่รู้”
เมื่ออาจารย์มาถึง พวกเขาพากันถามว่า
คำพูดเหล่านี้หมายถึงอะไรแน่
อาจารย์ตอบว่า
“ใครในพวกเจ้า
รู้ถึงกลิ่นหอมของดอกกุหลาบบ้าง?”
ทุกคนรู้
อาจารย์จึงกล่าวว่า
“จงบรรยายออกมาเป็นคำพูดซิ”
ทุกคนเงียบ
…………………………………….
การรำพึง
ศิษย์อยากจะรู้ว่า
ทุกเช้าอาจารย์รำพึงอะไรในสวน
อาจารย์ตอบว่า
“เมื่อฉันมองด้วยความตั้งใจ
ฉันเห็นกอกุหลาบที่กำลังบานสะพรั่ง”
“เพื่อจะเห็นกุหลาบบานสะพรั่ง
จำต้องมองด้วยความตั้งใจด้วยหรือ?”
ศิษย์ถาม
“ไม่เช่นนั้น ฉันจะมองไม่เห็นกอกุหลาบ”
อาจารย์ตอบ
“แต่จะเห็นแค่ความนึกคิด
ที่ฉันมีเกี่ยวกับกอกุหลาบเท่านั้น”
…………………………………….
ทางสายกลาง
อาจารย์มักจะเตือน
ไม่ให้ศิษย์พึ่งในตัวอาจารย์มากจนเกินไป
เพราะเกรงว่า
จะทำให้ศิษย์ไม่อาจเข้าถึงต้นธาร
ที่อยู่ภายในตัวศิษย์แต่ละคน
อาจารย์กล่าวเสมอว่า
“มีสามสิ่งที่เป็นอันตรายหากเข้าใกล้เกินไป
แต่จะไร้ประโยชน์หากอยู่ห่างเกินไป
จึงควรที่จะอยู่กลาง ๆ พอดี
สามสิ่งนั้นคือ ไฟ รัฐบาล และอาจารย์”
…………………………………….
การขัดแย้ง
“ผมต้องทำอะไร เพื่อจะเข้าถึงพระเจ้า?”
“ถ้าเจ้าอยากจะเข้าถึงพระเจ้า
มีสองอย่างที่เจ้าควรจะรู้
สิ่งแรกคือ ความพยายามทุกอย่าง
ที่จะเข้าถึงพระเจ้านั้น
เป็นความพยายามที่ไร้ผล”
“และอย่างที่สองล่ะ?”
“อย่างที่สองคือ จงทำราวกับว่า
เจ้าไม่รู้อย่างแรก”
…………………………………….
นักบุญ
ชีวิตของอาจารย์นั้นเรียบง่าย
ไม่มีอะไรพิเศษ นอกเสียจากว่า
อาจารย์มีสายตาแหลมคมเป็นพิเศษ
อาจารย์ตกใจ หรือเศร้าโศก
ตามแต่สถานการณ์จะพาไป
และหัวเราะ ร้องไห้ หรือโกรธ
เช่นคนทั่วไป
ชอบอาหารอร่อย ดื่มเหล้าบ้าง
และหันมองผู้หญิงสวยเมื่อเดินอยู่ตามทาง
นักเดินทางคนหนึ่งเห็นเช่นนี้
ก็บ่นกับศิษย์คนหนึ่งว่า
อาจารย์ไม่ได้เป็นนักบุญอย่างที่คิด
ศิษย์คนหนึ่งโต้ตอบว่า
“การที่คนหนึ่งเป็นนักบุญเป็นเรื่องหนึ่ง
กับการที่ท่านคิดว่าใครเป็นนักบุญ
ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง”
…………………………………….
พระเท็จเทียม
อาจารย์ไม่ลดละที่จะเตือนศิษย์
ให้ระวังอันตรายในการปฏิบัติศาสนา
อาจารย์ชอบเล่าเรื่องของผู้ทำนายคนหนึ่ง
ที่ถือคบเพลิงลุกโพลงไปตามถนน
พร้อมกับพูดว่าจะเผาวัดให้หมด
เพื่อคนจะได้สนใจในพระเจ้า
และเลิกสนใจวัดเสียที
แล้วอาจารย์จะเสริมว่า
“สักวันหนึ่งฉันคงจะต้องเอาคบไฟ
ไปเผาทั้งวัดทั้งพระเจ้าเป็นแน่”
…………………………………….
พืชผล
นักเดินทางคนหนึ่งกำลังเสาะหาพระเจ้า
ถามอาจารย์ว่าจะทำอย่างไร
จึงจะแยกแยะออกว่า
อาจารย์คนไหนแท้ คนไหนเทียม
อาจารย์ตอบว่า
“อาจารย์ที่ดี สอนการปฏิบัติ
ส่วนอาจารย์ไม่ดี สอนแต่ทฤษฎี”
“แล้วผมจะรู้ได้อย่างไรว่า
การปฏิบัติไหนดีและการปฏิบัติไหนไม่ดี”
“ก็ด้วยวิธีเดียวกัน ที่ชาวนารู้ว่า
พืชผลไหนดีและพืชผลไหนเลวนั่นแหละ”
…………………………………….
การเปลี่ยนแปลง
อาจารย์ไม่ชอบ
คนที่อยากจะยืดเวลา เพื่ออยู่ต่อไปในอาราม
ไม่เร็วก็ช้า ศิษย์แต่ละคนจะได้ยินคำเหล่านี้
“ถึงเวลาแล้วที่เจ้าจะต้องไป
ถ้าเจ้าไม่ไป จิตก็จะไม่มา”
ศิษย์คนหนึ่ง ที่กำลังเศร้า
อยากจะรู้ว่า “จิต” นี้หมายถึงอะไร
อาจารย์กล่าวว่า
“น้ำจะมีชีวิตและเป็นอิสระ
ในขณะที่ไหลเรื่อยไปฉันใด
เจ้าจะมีชีวิตและเป็นอิสระ
ตราบใดที่ไปเรื่อยๆ ฉันนั้น
ถ้าเจ้าไม่ยอมจากฉันไป
เจ้าจะกลับเป็นดังน้ำนิ่งเน่า
และเสียไปในที่สุด”
…………………………………….
ประสบการณ์พระ
ในการพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์พระเจ้า
อาจารย์กล่าวว่า
“เมื่อเรามีประสบการณ์พระเจ้า
ตัวของเราก็จะหายไป
ดังนั้นใครล่ะเป็นคนมีประสบการณ์?”
“ประสบการณ์พระเจ้า
จึงเป็นการสูญหายตายจากตนเองหรือ?”
“ก็เหมือนกับประสบการณ์ของการฝันนั่นแหละ
เรารู้ตัวว่าฝัน ต่อเมื่อเลิกฝันแล้ว”
…………………………………….
ขุมทรัพย์ซ่อนเร้น
อาจารย์เล่าว่า
ครั้งหนึ่งมีการประมูลขายขันโบราณ
ที่มีค่ามหาศาล
ขันใบนี้ ขอทานคนหนึ่งเคยใช้เพื่อขอเศษเงิน
จนกระทั่งจบชีวิตลงในความยากจนแร้นแค้น
เมื่อศิษย์ถามอาจารย์ว่า
ขันใบนั้นหมายถึงอะไร
อาจารย์ตอบว่า
“ตัวพวกเจ้าลง”
ศิษย์ขอคำอธิบายเพิ่มเติม อาจารย์จึงพูดว่า
“ความสนใจของพวกเจ้า
จดจ่อแต่ในความรู้เล็กน้อย
ที่ได้มาจากหนังสือและครูผู้สอน
พวกเจ้าน่าจะให้ความสนใจต่อขัน
ที่พวกเจ้าถืออยู่ในมือ จะดีกว่าเป็นไหน ๆ”
…………………………………….
อัศจรรย์
มีคนกล่าวว่า ผู้ศักดิ์สิทธิ์คนหนึ่ง
อาศัยอยู่ชานเมืองทำอัศจรรย์ได้
บ้านของเขาจึงเป็นที่แสวงบุญ
ของคนเจ็บคนป่วยจำนวนมาก
อาจารย์เป็นคนไม่สนใจในเรื่องอัศจรรย์
และไม่เคยตอบคำถามเกี่ยวกับผู้ศักดิ์สิทธิ์นี้เลย
เมื่อศิษย์รบเร้าถามว่า
ทำไมอาจารย์จึงต่อต้านเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
อาจารย์ตอบว่า
“จะต่อต้านสิ่งที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา
ตลอดเวลา
ในแต่ละวันได้อย่างไร?”
…………………………………….
การหลอกลวง
“เรารู้ได้อย่างไรว่า
การบำเพ็ญฌานไหนแท้หรือไม่แท้?”
ศิษย์คนที่สนใจเกี่ยวกับสิ่งลึกลับถาม
“พวกเจ้ารู้ได้อย่างไรว่า
คนหนึ่งนอนหลับหรือแสร้งหลับ?”
อาจารย์ถาม
“เราไม่มีวันรู้ มีแต่คนที่นอนเท่านั้น
ที่รู้ว่าหลับจริงหรือแสร้งหลับ”
อาจารย์หัวเราะชอบใจ
หลังจากนั้น อาจารย์กล่าวต่อว่า
“คนที่แสร้งหลับ หลอกคนอื่นได้
แต่หลอกตนเองไม่ได้
แต่คนที่บำเพ็ญฌานไม่แท้ หลอกได้ทั้งผู้อื่น
และตนเองด้วย”
…………………………………….
แก้ที่ตน
นักเดินทางคนหนึ่ง
เล่าเรื่องของผู้ศักดิ์สิทธิ์คนหนึ่ง
ที่ต้องการจะไปเยี่ยมเพื่อนที่กำลังจะตาย
แต่กลัวการเดินทางในเวลากลางคืน
จึงได้บอกกับดวงอาทิตย์ว่า
“ในพระนามของพระเจ้า
จงส่องแสงในท้องฟ้าต่อไปเรื่อยๆ
จนกว่าฉันจะไปถึงเพื่อนจะตาย
ดวงอาทิตย์ยังคงทอแสงต่อไป
จนกระทั่งผู้ศักดิ์สิทธิ์เดินทางถึงเป้าหมาย
อาจารย์ยิ้ม แล้วกล่าวว่า
“ผู้ศักดิ์สิทธิ์น่าจะเอาชนะความกลัว
ในการเดินทางกลางคืน
จะดีกว่าเป็นไหนๆ”
…………………………………….
การตัดสิน
“ทำอย่างไร
ผมจึงจะสามารถยกโทษให้ผู้อื่นได้”
“ถ้าเจ้ายังไม่คิดให้โทษเขา
เจ้าก็ไม่จำเป็นต้องยกโทษให้เขาดอก”
…………………………………….
ความแจ่มใส
“จะมีวิธีใดบ้าง ที่จะรู้ถึงพลังจิตของตน?”
“มีหลายวิธี”
“โปรดชี้แนะเราสักหนึ่งวิธี”
“ลองหาดูซิว่า
วันหนึ่งๆ เจ้าหงุดหงิดบ่อยแค่ไหน”
…………………………………….
การเรียนรู้
อาจารย์มักเร่งเร้าให้ศิษย์เรียนรู้ด้วยตนเอง
กล่าวคือ เป็นครูสอนตนเอง
มากกว่าจะคอยพึ่งคนอื่น
กระนั้นก็ดี การกระทำดังกล่าว
ต้องมีขอบเขตอันเหมาะสม
ไม่เช่นนั้น จะเป็นเหมือนชายหนุ่มคนหนึ่ง
ที่มั่นใจเหลือเกินว่า
จะต้องลองยาเสพติด
เพื่อเป็นหนทางไปสู่การบำเพ็ญฌาน...
เขาจะต้องเสี่ยงมาก
เพราะคนเรียนรู้ด้วยตนเอง
มักต้องเรียนรู้ด้วยการทดลอง
และด้วยการผิดพลาด
เพื่อให้เข้าใจชัดเจน
อาจารย์เล่าเรื่องตะปูกับตะปูควง
“นี่คือเรื่องวิธีหนึ่งที่จะรู้ว่า
จะตอกไม้ชิ้นหนึ่งด้วยตะปูหรือตะปูควง
ลองตอกไม้ชิ้นนั้นด้วยตะปูก่อน
ถ้าไม้แตกก็แปลว่า จะต้องใช้ตะปูควง”
…………………………………….
การรู้แจ้ง
ทุกครั้งที่ศิษย์ถามเกี่ยวกับการรู้แจ้ง
อาจารย์มักจะไม่ค่อยอยากพูดถึงนัก
แม้ศิษย์จะหาวิธีต่างๆ นานา
เพื่อจะได้คำตอบจากอาจารย์ก็ตาม
ทุกสิ่งที่ศิษย์รู้เกี่ยวกับการรู้แจ้งของอาจารย์
ก็ได้มาจากคำตอบ
ที่อาจารย์เคยให้แก่ศิษย์ผู้น้อยที่สุด
ที่ถามว่า อาจารย์รู้สึกอย่างไร
เมื่อได้ลุถึงการรู้แจ้งแล้ว
อาจารย์ตอบว่า “รู้สึกเป็นคนโง่เง่า”
เมื่อศิษย์คนนั้นถามเหตุผล อาจารย์ตอบว่า
“มันก็เหมือนกับคนที่พยายามจะเข้าบ้าน
โดยปีนบันไดและทุบหน้าต่างเพื่อเข้าไป...
แต่พอเข้าไปในบ้านแล้ว
ก็พบว่า ประตูบ้านเปิดอยู่”
…………………………………….
การพัฒนา
ศิษย์คนหนึ่งตัดพ้อกับอาจารย์ว่า
ตนมีความสามารถจำกัดเหลือเกิน
อาจารย์จึงกล่าวว่า
“ใช่ เป็นความจริง
เจ้ามีความสามารถจำกัด
แต่เจ้าไม่ได้สังเกตหรือว่า
ทุกวันนี้ เจ้าสามารถทำได้หลายอย่าง
ที่สิบห้าปีก่อนนี้เจ้าทำไม่ได้
อะไรล่ะที่เปลี่ยนไป?”
“ความสามารถของผมเปลี่ยนไป”
“ไม่ใช่ ตัวเจ้าต่างหากที่เปลี่ยนไป”
“มันก็สิ่งเดียวกันไม่ใช่หรือ?”
“ไม่ใช่ เจ้าเป็นสิ่งที่เจ้าคิด
เมื่อวิธีการนึกคิดของเจ้าเปลี่ยนไป
ตัวเจ้าก็เปลี่ยนไปด้วย”
…………………………………….
ความผิวเผิน
วันหนึ่ง นักหนังสือพิมพ์ขอให้อาจารย์
ยกตัวอย่างอะไรสักหนึ่งอย่าง
ที่ชี้บอกลักษณะแนวโน้มของโลกสมัยนี้
โดยไม่รีรอ อาจารย์ตอบว่า
“คนทุกวันนี้
รู้เกี่ยวกับจักรวาลมากขึ้น
และรู้จักตนเองน้อยลง”
อาจารย์พูดกับนักดาราศาสตร์คนหนึ่ง
ที่มาบรรยายถึงความก้าวหน้าของวิชานี้ว่า
“ในบรรดาสิ่งลึกลับพิสดาร
นับล้านของจักรวาล
สิ่งที่ลึกลับน่าพิศวงที่สุด คือ “ตัวฉัน”
…………………………………….
การรำพึง
“กิจการใด เป็นกิจการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ที่มนุษย์สามารถกระทำได้?”
“นั่งรำพึง”
“นั่นจะนำเราไปสู่การอยู่เฉยไม่ใช่หรือ?”
“การนั่งรำพึงคือการอยู่เฉย”
“ดังนั้น กิจการก็ด้อยกว่าการอยู่เฉยหรือ?”
“การอยู่เฉยให้ชีวิตแก่กิจการ
ปราศจากการอยู่เฉย
กิจการที่ทำก็เป็นกิจการที่ตาย”
…………………………………….
การรำพึง
“กิจการใดยิ่งใหญ่ที่สุด
ที่มนุษย์สามารถทำได้?”
“การนั่งรำพึง”
“แต่ไม่เห็นอาจารย์นั่งรำพึงเลย
ได้แต่ทำงานต่างๆ ในบ้าน
อย่างไม่หยุดหย่อน
ไม่ว่างานในท้องนา
พบปะคนที่มาเยี่ยมเยียน
หรือไม่ก็เขียนหนังสือ
และทำแม้กระทั่ง
บัญชีใช้จ่ายของบ้านด้วย
ทำไมอาจารย์จึงทำงานตลอดเวลาเล่า?”
“เมื่อเราทำงาน
ไม่หมายความว่า
เราจะต้องหยุดรำพึงด้วยนี่”
…………………………………….
ความพยายาม
ศิษย์คนหนึ่งออกแรงพยายาม
เพื่อจะลุถึงการรู้แจ้ง
จนกระทั่งหมดเรี่ยวแรง
อาจารย์จึงกล่าวว่า
“เราสามารถจับรังสีดวงอาทิตย์ได้...
แต่ไม่ใช่ด้วยมือ
เราอาจจะลุถึงการรู้แจ้งได้...
แต่ไม่ใช่ด้วยแรงพยายามของเรา”
ศิษย์รู้สึกแปลกใจ แย้งว่า
“ก็ท่านเองไม่ใช่หรือ
ที่สอนให้ผมออกแรง
พยายามทำตัวให้ว่างเปล่า?
ก็ผมกำลังพยายามทำอยู่นี่ไง”
“และเวลานี้
เจ้าก็เลยเต็มด้วยความพยายาม
ที่จะทำตัวให้ว่างเปล่า”
อาจารย์ให้ข้อสังเกตพลางหัวเราะ
…………………………………….
ชีวิต
อาจารย์เป็นคนที่รักชีวิต
และดำเนินชีวิตอย่างเต็มเปี่ยม
กระนั้นก็ดี อาจารย์ไม่กลัวที่จะเสี่ยงชีวิต
เมื่อพูดประฌามระบบเผด็จการของผู้ว่าราชการ
ซึ่งอาจจะทำให้ต้องถูกจับและประหารได้
หรือเมื่อนำศิษย์ไปช่วยเหลือชาวบ้าน
ที่เป็นโรคระบาดร้ายแรง
อาจารย์มักจะพูดว่า
“ผู้ฉลาด ไม่กลัวความตาย”
ศิษย์เคยถามว่า
“ทำไมท่านเสี่ยงชีวิตง่ายๆ เช่นนี้?”
“ทำไมเราต้องเป็นห่วงว่าเทียนจะดับ
เมื่อแสงอาทิตย์เริ่มสาดส่องท้องฟ้าแล้ว?”
…………………………………….
การเลือก
เจ้าของสวนสนุกคนหนึ่งมาปรึกษาอาจารย์
ตัดพ้อว่าขณะที่เด็กๆ กำลังสนุกสนาน
เขาเองกลับมีแต่ความเศร้า
“ท่านจะเลือกเป็นเจ้าของสวนสนุก
หรืออยากจะสนุกเอง?”
อาจารย์ถาม
“ผมอยากได้ทั้งสองอย่าง”
อาจารย์ไม่พูดอะไร
ภายหลัง เมื่อศิษย์ของคำอธิบาย
อาจารย์อ้างคำพูดของคนจรจัด
ที่กล่าวกับเศรษฐีเจ้าของสวนพฤกษชาติว่า
“ท่านเป็นเจ้าของสวน
แต่คนอื่นเพลิดเพลินกับธรรมชาติในสวน”
…………………………………….
พระเจ้า
“มีพระเจ้าจริงหรือเปล่า?”
คนนิยมลัทธิมาร์กซ์ถาม
“แน่นอน
แต่ไม่ใช่พระเจ้า
อย่างที่คนคิด”
อาจารย์ตอบ
“ “คน”ที่ท่านพูดนี้ หมายถึงใคร?”
“ใครก็ตาม”
…………………………………….
พิสูจน์
“มีพระเจ้าจริงไหม?”
วันหนึ่งอาจารย์ถาม
“มี” ศิษย์ตอบเป็นเสียงเดียวกัน
“ผิด” อาจารย์แย้ง
“ไม่” ศิษย์ยืนยัน
“ผิดอีกแล้ว” อาจารย์พูด
“แล้วอะไรเป็นคำตอบ?” ศิษย์ถาม
“ไม่มีคำตอบ”
“ทำไมหรือ?”
“ก็เพราะไม่มีคำตอบ” อาจารย์ตอบ
หลังจากนั้น อาจารย์อธิบายว่า
“ถ้าเราไม่สามารถจะพูดอะไร
เกี่ยวกับพระเจ้าได้เลย
เพราะพระองค์ทรงอยู่เหนือว่าความคิด
และคำพูดของเรา
แล้วเราจะถามอะไรเกี่ยวกับพระองค์ได้อย่างไร?”
…………………………………….
ความก้าวหน้า
อาจารย์ชื่นชอบ
ในความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี
แต่ก็สำนึกในขอบเขตของความก้าวหน้าดังกล่าว
เมื่อนักอุตสาหกรรมคนหนึ่งถามอาจารย์ว่า
อาจารย์ทำงานอะไร
อาจารย์ตอบว่า
“ฉันประกอบอุตสาหกรรมมนุษย์”
“ขอโทษ อุตสาหกรรมอะไร?”
นักอุตสาหกรรมถามด้วยความแปลกใจ
“มองตัวท่านเองสิ” อาจารย์กล่าว
“ท่านออกแรงพยายาม
เพื่อผลิตสิ่งของให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนฉันก็ออกแรงความพยายาม
เพื่อผลิตคนดีขึ้นเรื่อยๆ”
ภายหลัง อาจารย์กล่าวกับศิษย์ว่า
“จุดหมายของชีวิตคือ
ทำให้คนแบ่งบานพัฒนาเต็มที่
แต่ทุกวันนี้ ดูคนจะให้ความสนใจ
ในการทำให้สิ่งของพัฒนามากกว่า”
…………………………………….
หนังสือ
อาจารย์บอกว่า มีหนังสือเล่มหนึ่ง
ที่บรรจุความรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับพระเจ้า
ที่เราสามารถจะรู้ได้
ไม่มีศิษย์คนไหนเคยเห็นหนังสือเล่มนี้เลย
จนกระทั่งนักวิชาการคนหนึ่งที่มาเยี่ยมอาจารย์
รบเร้าขอหนังสือเล่มนี้
จนที่สุดอาจารย์ก็มอบให้
เขานำกลับบ้าน
และรีบเปิดหนังสือดูด้วยความกระหาย...
แต่ต้องพบว่าหนังสือแต่ละหน้าว่างเปล่า
ไม่มีอะไรเขียนอยู่เลย
“หนังสือนั่นไม่ได้บอกอะไรเลย”
นักวิชาการทักท้วง
“ฉันรู้” อาจารย์ตอบ ท่าทีพึงพอใจ
“แต่ดูสิ มันแนะอะไรหลายอย่างนะ”
…………………………………….
ความแก่
“คุณแก่ไปมากเลย”
อาจารย์กล่าว เมื่อพบเพื่อนในวัยเด็ก
“ทำอย่างไรได้
เราต้องแก่กันอยู่แล้วไม่ใช่หรือ?”
“ใช่” อาจารย์ตอบ
“แต่เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงที่จะแก่นะ”
…………………………………….
ศาสนา
แม้จะเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ แต่ดูเหมือนว่า
อาจารย์จะไม่เห็นด้วยกับการถือศาสนานัก
สิ่งนี้สร้างความแปลกใจให้แก่ศิษย์เป็นอันมาก
เพราะศิษย์ต่างก็ถือว่า
ศาสนากับชีวิตเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกัน
“ศาสนาที่ปฏิบัติกันทุกวันนี้
ห่วงแต่เรื่องการลงโทษและการให้รางวัล
หรือจะพูดอีกนัยหนึ่ง
ปลูกฝังความกลัวและความโลภ...
สองสิ่งนี้เป็นตัวทำลายชีวิตจิตให้เสียไป”
หลังจากนั้น อาจารย์ก็พูดเสริม
ด้วยสีหน้าเศร้าสร้อยว่า
“มันก็เหมือนกับการต้านน้ำท่วมด้วยน้ำ
หรือดับไฟที่ไหม้ฟางด้วยไฟนั่นแหละ”
…………………………………….
การเติบโต
อาจารย์ปล่อยให้ศิษย์แต่ละคน
ก้าวหน้าพัฒนาไปตามจังหวะของแต่ละคน
และไม่เคยฝืนหรือเร่งเร้า
อาจารย์อธิบายถึงการกระทำดังกล่าว
ด้วยนิทานเปรียบเทียบนี้
ครั้งหนึ่ง ชายคนหนึ่งเห็นผีเสื้อตัวหนึ่ง
กำลังพยายามออกจากเปลือกดักแด้อย่างช้าๆ...
ช้าจนกระทั่งเขาคิดว่ามันช้าเกินไป
เขาจึงเริ่มเป่าลมเบาๆ เพื่อช่วยมัน
ความอบอุ่นจากลมปาก ช่วยเร่งผีเสื้อ
ให้ออกมาได้เร็วทันตาเห็น
แต่ทว่า สิ่งที่ออกมาไม่ใช่ผีเสื้อ
แต่เป็นสัตว์ตัวหนึ่งที่ปีกฉีกขาด
อาจารย์จึงสรุปว่า
“เราไม่อาจจะเร่งกระบวนการเติบโตพัฒนาได้
เพราะจะทำให้เกิดการแท้งขึ้น
อย่างน่าเสียดาย”
…………………………………….
ความเหมาะสม
หลายครั้ง
ศิษย์ไม่เข้าใจวิธีการ
ที่อาจารย์ใช้เพื่อเลือกลูกศิษย์
บางคนอาจารย์เลือกไว้
บางคนอาจารย์กลับไม่ยอมรับ
จนกระทั่งวันหนึ่ง
พวกเขาได้ยินอาจารย์พูด
จึงได้เข้าใจ
อาจารย์กล่าวว่า
“อย่าไปพยายามสอนหมูร้องเพลงเลย
พวกเจ้าเสียเวลาเปล่า
แถมยังทำให้หมูโกรธด้วย”
…………………………………….
คำจำกัดความ
อาจารย์แสดงความชื่นชอบ
ในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ
ราวกับเด็กคนหนึ่ง
อาจารย์ไม่อาจจะซ่อนความพิศวงไว้ได้
เมื่อเห็นเครื่องคิดเลขขนาดจิ๋ว
ภายหลัง อาจารย์กล่าวว่า
“ดูเหมือนว่า
หลายคนมีเครื่องคิดเลขติดกระเป๋า
แต่ในกระเป๋าไม่มีอะไร
ที่มีค่าพอที่จะคิดด้วยเครื่องคิดเลขเลย”
หลายสัปดาห์ต่อมา มีผู้มาเยือนคนหนึ่ง
ถามอาจารย์ว่าสอนอะไรแก่ลูกศิษย์บ้าง
อาจารย์ตอบว่า
“สอนให้จัดลำดับคุณค่าให้ถูกต้อง
คือ มีเงินดีกว่ามีแต่จำนวนเงิน
มีประสบการณ์
ดีกว่ามีแค่คำจำกัดความของประสบการณ์”
…………………………………….
ชีวิต
ครั้งหนึ่ง ศิษย์ถกเถียงกัน
เกี่ยวกับประโยชน์ของการอ่าน
บางคนบอกว่าเป็นการเสียเวลา
บางคนว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์
เมื่อศิษย์ถามความเห็นของอาจารย์
อาจารย์ตอบว่า
“พวกเจ้าเคยอ่านข้อความบางบท
ที่คนอ่านเขาเขียนเพิ่มเติมไว้ที่ด้านข้างไหม
สิ่งที่เขาเพิ่มไว้ข้างๆ นั้น
ส่อให้เห็นถึงความรู้แจ้ง
มากกว่าข้อความในบทความนั้นเสียอีก?”
ศิษย์ต่างพยักหน้ารับ
อาจารย์จึงพูดว่า
“ชีวิตเป็นหนึ่งในบทความเหล่านี้แหละ”
…………………………………….
การเรียกร้อง
อาจารย์แนะนำคู่บ่าวสาว
ที่มักจะทะเลาะกันเป็นประจำ
อาจารย์บอกว่า
“จงเลิกเรียกร้องสิทธิ
ในสิ่งที่ขอร้องกันได้
การทะเลาะเบาะแว้งก็จะสิ้นสุดลง”
…………………………………….
การวิพากษ์วิจารณ์
อาจารย์มักจะเตือนศิษย์
ที่ท้อแท้เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
“จงฟังคำพูดของคนที่วิพากษ์วิจารณ์
เพราะเขาบอกหลายอย่าง
ที่เพื่อนของเจ้ามักจะปิดบัง”
แล้วก็พูดเสริมว่า
“แต่อย่าท้อแท้หมดกำลังใจ
เพราะสิ่งที่คนวิพากษ์วิจารณ์พูด
ไม่เคยมีใครสร้างปูนปั้น
เพื่อเป็นเกียรติแก่คนวิพากษ์วิจารณ์
รูปปั้นสร้างไว้ให้เกียรติ
แก่คนถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งนั้นแหละ”
…………………………………….
พระเจ้า
ไม่มีใครจะชักชวนอาจารย์
ให้พูดเกี่ยวกับพระเจ้า
หรือสิ่งที่เกี่ยวกับพระองค์ได้เลย
อาจารย์มักจะกล่าวว่า
“เกี่ยวกับพระเจ้านั้น
เรารู้ได้เพียงอย่างเดียว
คือ เราไม่รู้อะไรเลย”
วันหนึ่งอาจารย์เล่าว่า
ชายคนหนึ่งครุ่นคิดอย่างหนักและนาน
ก่อนที่จะตัดสินใจเป็นศิษย์
“เขามาเพื่อเรียนรู้จากฉัน
ผลที่ได้คือ เขาไม่ได้รู้อะไรเลย”
ศิษย์น้อยคนที่จะรู้ว่า
สิ่งที่อาจารย์จะต้องสอนนั้น
เป็นสิ่งที่สอนไม่ได้ และไม่มีใครรู้ได้เลย
ดังนั้น สิ่งที่เรียนรู้จากอาจารย์คือ
การไม่รู้อะไรเลย
…………………………………….
การเบียดเบียน
วันหนึ่ง ศิษย์คนหนึ่งกล่าวว่า
พระเยซูเจ้า พระพุทธเจ้า
และพระมูฮัมหมัด
ถูกประชาชนกล่าวหาว่า
เป็นขบถ
และหลงผิดไปจากความเชื่อถือในสมัยนั้นๆ
อาจารย์กล่าวว่า
“ไม่มีใครที่จะได้ชื่อว่า
เป็นผู้ลุถึงจุดยอดแห่งความจริงแล้ว
หากคนจิตใจซื่อตรงจำนวนพันๆ
ไม่ได้กล่าวหาว่าเขาพูดผรุสวาท”
…………………………………….
รู้จักฟัง
ชายคนหนึ่ง
กำลังมีวิกฤติกาลในชีวิตการแต่งงาน
มาขอคำแนะนำจากอาจารย์
อาจารย์พูดว่า
“ท่านต้องรู้จักฟังภรรยาพูดบ้าง”
ชายคนนั้น รับคำแนะนำด้วยความรู้คุณ
หลังจากนั้นหนึ่งเดือน
เขากลับมาหาอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อบอกอาจารย์ว่า
เขาเริ่มรู้จักฟังทุกคำที่ภรรยาพูดแล้ว
อาจารย์ยิ้มและพูดกับเขาว่า
“เวลานี้กลับไปบ้าน
และจงฟัง
ทุกคำที่ภรรยาไม่ได้พูดด้วย”
…………………………………….
การเติบโต
“ปัญหาใหญ่ของโลกเวลานี้คือ
คนไม่ยอมโต”
อาจารย์พูดพลางถอนหายใจ
“และเมื่อไรจะพูดได้ว่า
คนหนึ่งโตแล้ว?”
ศิษย์ถาม
“เมื่อเขาไม่จำเป็นต้องพูดปด
ในเรื่องใดๆ เลย”
…………………………………….
ความฉลาด
อาจารย์ให้การสนับสนุน
ทั้งการเรียนรู้ และความฉลาด
อาจารย์อธิบายว่า
“การเรียนรู้ ได้มาด้วยการอ่านหนังสือ
หรือฟังปาฐกถา”
“แล้วความฉลาดเล่าครับ?”
“ได้มาด้วยการอ่านหนังสือ
ซึ่งได้แก่ตัวเจ้าเอง”
หลังจากนั้นอาจารย์เสริมว่า
“อย่างหลังนี่ยากมาก
เพราะทุกนาทีของแต่ละวัน
หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ใหม่เสมอ”
…………………………………….
ตนเอง
เมื่อมีศิษย์ใหม่มาเรียนรู้
อาจารย์จะถาม
“เจ้ารู้ไหมว่า
ใครที่จะไม่ทอดทิ้งเจ้าเลยตลอดชีวิต?”
“ใครครับ?”
“ตัวเจ้านะซี”
“เจ้ารู้คำตอบของปัญหาต่างๆ
ที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหรือยัง?”
“คำตอบนั้นคืออะไรครับ?”
“ก็ตัวเจ้าอีกนั่นแหละ”
“แล้วเจ้ารู้หรือเปล่าว่า
อะไรเป็นตัวแก้ปัญหาทั้งหมดของเจ้า?”
“อะไรครับ?”
“ก็ตัวเจ้านั่นไง”
…………………………………….
ความเงียบ
อาจารย์เคยกล่าวเสมอว่า
ความเงียบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
แต่ไม่เคยมีใครสามารถทำให้อาจารย์
บอกคำจำกัดความของความเงียบได้เลย
ทุกครั้งที่มีใครถาม อาจารย์จะยิ้ม
แล้วยกนิ้วชี้ปิดปากสนิท...
ซึ่งสร้างความแปลกใจ
งงงันให้แก่ศิษย์ยิ่งขึ้น
วันหนึ่ง มีศิษย์หนึ่งถามว่า
“เราจะลุถึงความเงียบ
ที่ท่านพูดถึงได้อย่างไร?”
อาจารย์ตอบด้วยคำพูดซื่อๆ
ซึ่งทำให้ศิษย์คิดว่าอาจารย์กำลังล้อเล่น
“พวกเจ้าจะอยู่ที่ใดก็ตาม
จงมองสิ่งที่ภายนอกดูไม่มีอะไรน่ามอง
และจงฟัง เมื่อทุกอย่างรอบข้างเงียบสงัด”
…………………………………….
ชีวิตแห่งการรู้แจ้ง
ขณะที่ไปเที่ยวพักผ่อนด้วยกัน
อาจารย์กล่าวว่า
“พวกเจ้าอยากจะรู้ไหมว่า
ชีวิตแห่งการรู้แจ้งเป็นฉันใด?
จงมองดูนก
ที่บินอยู่เหนือผิวน้ำในทะเลสาบสิ”
ขณะที่ศิษย์ทุกคนมอง
อาจารย์กล่าวเสริมว่า
ขณะที่บิน เงาของนกทอดลงบนผืนน้ำ
โดยนกเอง ไม่รู้ตัว...
ทะเลสาบก็ไม่ได้สนใจแต่อย่างใด”
…………………………………….
ศิลปะ
“อาจารย์มีประโยชน์อย่างไร”
ชายคนหนึ่งถามศิษย์
ศิษย์ตอบว่า
“อาจารย์สอนสิ่งที่คุณเคยรู้
ชี้ให้คุณเห็น สิ่งที่คุณเคยมอง”
เมื่อเห็นว่าเขาไม่เข้าใจ
ศิษย์จึงอธิบายว่า
“ศิลปิน สอนผมให้เห็นดวงอาทิตย์ตก
ด้วยรูปที่เขาวาด
อาจารย์ สอนผมให้เห็นความจริงอยู่ทุกเมื่อ
ด้วยคำสอนของท่าน”
…………………………………….
ความสันโดษ
“ผมอยากจะอยู่กับพระเจ้าในคำภาวนา”
“สิ่งที่เจ้าต้องการ เป็นสิ่งเหลวไหล”
“ทำไมครับ?”
“เพราะถ้าเจ้าอยู่พระเจ้าก็ไม่ทรงอยู่
ถ้าพระเจ้าทรงอยู่เจ้าก็ไม่อยู่
เพราะฉะนั้น
เจ้าจะอยู่กับพระเจ้าได้อย่างไร?”
หลังจากนั้น อาจารย์กล่าวต่อว่า
“จงเสาะหาความสันโดษ
ถ้าเจ้าอยู่กับใครสักคน
เจ้าก็ไม่อยู่ตามลำพัง
ถ้าเจ้าอยู่ “กับพระเจ้า”
เจ้าก็ไม่อยู่ตามลำพัง
วิธีเดียวที่จะอยู่กับพระเจ้าอย่างแท้จริง
คืออยู่ตามลำพังคนเดียว
เวลานั้นพระเจ้าจะทรงอยู่
และเจ้าก็จะไม่อยู่”
…………………………………….
สงสัย
คนเดินทางคนหนึ่งถามว่า
จะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่า
อาจารย์คนไหนเป็นอาจารย์แท้
และคนไหนเทียม
อาจารย์ตอบสั้นๆว่า
“ถ้าตัวท่านเองเป็นคนซื่อสัตย์
ท่านก็จะไม่ถูกหลอก”
และอาจารย์กล่าวกับศิษย์ว่า
“ทำไมคนที่เสาะหา
มักจะคิดว่าตนเป็นคนซื่อสัตย์
และต้องหาข้อทดสอบ
เพื่อพบความหลอกลวงในตัวอาจารย์เล่า?”
…………………………………….
ตามสัดส่วน
ผู้มาเยือนคนหนึ่งคาดว่าจะได้เห็น
สิ่งพิเศษยิ่งใหญ่ในตัวอาจารย์
แต่ต้องผิดหวัง
เมื่อได้ยินคำพูดของอาจารย์
เป็นคำพูดธรรมดาๆ
“ผมมานี่เพื่อมาหาอาจารย์สักคนหนึ่ง”
เขาพูดกับศิษย์คนหนึ่ง
“แต่ผมกลับพบแค่คนธรรมดา
ที่ไม่เห็นมีอะไรแตกต่างไปจากคนอื่น”
ศิษย์แย้งว่า
“อาจารย์เป็นเหมือนช่างรองเท้า
ที่มีหนังจำนวนมากมาย
แต่อาจารย์จะตัดหนัง
และเย็บตามขนาดเท้าของท่าน”
…………………………………….
การสั่งสอน
ศิษย์ใจร้อนรนคนหนึ่ง
อยากจะไปสอนความจริงให้แก่คนอื่น
จึงถามความเห็นของอาจารย์
อาจารย์ตอบว่า “รอก่อน”
ทุกปี ศิษย์คนนั้นกลับมาหาอาจารย์
ด้วยความประสงค์อันเดียวกัน
และทุกครั้ง
อาจารย์จะให้คำตอบเดียวกันว่า
“รอก่อน”
วันหนึ่ง ศิษย์จึงถามอาจารย์ว่า
“เมื่อไรผมจึงจะพร้อม เพื่อสอนคนอื่น?”
อาจารย์ตอบว่า
“เมื่อความกังวลที่จะสอนจนเลยเถิด
จางหายไปจากเจ้าเสียก่อน”
…………………………………….
คำภาวนา
อาจารย์มักจะกล่าวโจมตีภาพพจน์พระเจ้า
ที่คนทั่วไปมี
“ถ้าพระเจ้าของพวกท่าน
คือผู้ที่คอยจะให้ความช่วยเหลือ
และขจัดความหายนะต่างๆ ให้พวกท่านอย่างเดียว
ก็ถึงเวลาแล้ว
ที่พวกท่านควรจะเริ่มเสาะหาพระเจ้าแท้”
…………………………………….
อาจารย์กล่าวสอน
เมื่อมีคนขอให้อธิบาย อาจารย์ก็เล่าเรื่องนี้
ชายคนหนึ่ง จอดจักรยานคนใหม่เอี่ยม
ทิ้งไว้ที่ตลาด และเดินทางซื้อกับข้าว
เขามานึกได้ในวันรุ่งขึ้น...
จึงรีบไปที่ตลาด
คิดว่าจักรยานคงจะถูกขโมยไปแล้ว
แต่จักรยานยังคงจอดอยู่ที่นั่น
เขาเต็มตื้นด้วยความดีใจ
รีบไปที่วัดใกล้ๆ
เพื่อขอบคุณพระเจ้าที่ได้ทรงเฝ้าจักรยานให้...
แต่เมื่อออกจากวัด เขาต้องพบว่า
จักรยานหายไปเสียแล้ว
…………………………………….
ศิษย์ที่ดี
วันหนึ่ง ศิษย์อยากจะรู้ว่า
คนประเภทไหน
เหมาะจะเป็นศิษย์ของอาจารย์มากที่สุด
อาจารย์ตอบว่า
“บุคคลประเภทนี้มีเสื้อสองตัว
ขายไปตัวหนึ่ง
แล้วเอาเงินที่ได้
ไปซื้อดอกไม้ดอกหนึ่ง”
…………………………………….
ความพยายาม
อาจารย์ฟังภรรยาคนหนึ่ง
มาบ่นว่าถึงสามีของตน อยู่เงียบๆ
ที่สุด อาจารย์ก็พูดว่า
“สามีของเจ้าคงจะมีความสุขมากขึ้น
ถ้าเจ้าเป็นภรรยาที่ดีกว่านี้”
“แล้วดิฉันจะเป็นภรรยาที่ดีได้อย่างไร”
“ก็โดยการเลิกพยายาม
ที่จะทำให้สามีของเจ้า
เป็นสามีที่ดีกว่าจะซี”
…………………………………….
ความกังวลใจ
“ผมไม่รู้ว่า
พรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ผมอยากจะเตรียมตัวให้พร้อม”
“เจ้ากลัววันพรุ่งนี้...
และไม่รู้ตัวว่า
เมื่อวานนี้ก็อันตรายเหมือนกัน”
…………………………………….
การโอ้อวด
เมื่อศิษย์คนหนึ่ง ประกาศความตั้งใจ
จะสอนความจริงให้ผู้อื่น
อาจารย์จึงเสนอให้เขาทดลอง
“จงกล่าวปราศรัยสักครั้ง
ฉันจะร่วมฟังอยู่ด้วย เพื่อจะได้ตัดสินว่า
เจ้าพร้อมที่จะสอนคนอื่นแล้วหรือยัง”
การปราศรัยนั้นดีมาก น่าประทับใจ
เมื่อจบการปราศรัย
มีขอทานคนหนึ่งเข้าไปหาศิษย์คนนั้น
เขาลุกขึ้นและยื่นเสื้อคลุมให้แก่ขอทาน...
เพื่อเป็นตัวอย่างดีแก่ทุกคน
ที่ร่วมฟังปราศรัยอยู่ที่นั่น
ภายหลัง อาจารย์พูดกับเขาว่า
“คำพูดของเจ้าน่าฟังและประทับใจมาก
แต่เจ้ายังไม่พร้อมที่จะสอนคนอื่น”
“ทำไมครับ?” ศิษย์ตอบด้วยความผิดหวัง
“เพราะเหตุผลสองอย่าง
อย่างแรก
เจ้าไม่ให้โอกาสแก่ขอทานคนนั้น
บอกความต้องการของเขาก่อน
อย่างที่สอน
เจ้ายังขจัดความปรารถนา
ที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้อื่น
ด้วยฤทธิ์กุศลของเจ้ายังไม่ได้”
…………………………………….
นักปฏิรูป
อาจารย์ย้ำเตือนเสมอว่า
นักปฏิรูปคือบุคคลที่สามารถมองเห็นว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างครบครันอย่างที่มันเป็นแล้ว...
และพร้อมจะปล่อยให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่
“แล้วทำไมต้องคิดอยากปฏิรูปสิ่งต่างๆ อีกเล่า?”
ศิษย์ทักท้วง
“ก็มีนักปฏิรูปด้วยกันหลายประเภท
นักปฏิรูปประเภทหนึ่ง
ปล่อยให้การปฏิรูปเกิดขึ้น ผ่านทางตน
โดยที่ตนเองไม่ได้ทำอะไรเลย
นักปฏิรูปประเภทนี้เปรียบเหมือนคน
ที่เปลี่ยนรูปร่างและเส้นทางของแม่น้ำ
นักปฏิรูปอีกประเภทหนึ่ง เป็นผู้กระทำเอง
นักปฏิรูปประเภทนี้
เปรียบเหมือนคนที่พยายาม
จะทำให้แม่น้ำเปียกชื้นขึ้น”
…………………………………….
ความปรารถนา
เด็กหนุ่มคนหนึ่งมาหาอาจารย์พูดว่า
“ผมอยากจะเป็นคนฉลาด
ผมจะเป็นได้อย่างไร?”
อาจารย์ถอนหายใจ พลางตอบว่า
“ครั้งหนึ่ง
มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเหมือนเจ้า
อยากจะเป็นคนฉลาด
และความปรารถนานี้ได้ช่วยเขามาก
วันหนึ่งเขาผู้มี
ก็มานั่งอยู่ในที่นี่ฉันกำลังนั่งอยู่นี้
และข้างหน้าเขาก็มีเด็กหนุ่มคนหนึ่ง
นั่งอยู่ที่ที่เจ้ากำลังนั่งอยู่
เด็กหนุ่มคนนั้นพูดว่า
“ผมอยากจะเป็นคนฉลาด””
…………………………………….
ความยิ่งใหญ่
ศิษย์คนหนึ่งจากตะวันออก
ภูมิใจในชีวิตจิตแห่งโลกตะวันออกมาก
เขามาหาอาจารย์กล่าวว่า
“ทำไมโลกตะวันตก
จึงก้าวหน้าในด้านวัตถุ
แต่โลกตะวันออก
กลับก้าวหน้าในด้านชีวิตจิต?”
อาจารย์ตอบห้วนๆ ว่า
“ก็เพราะว่า ตั้งแต่แรก
เมื่อมีการแบ่งปันสิ่งของต่างๆ ในโลก
โลกตะวันตกมีโอกาสเลือกก่อนนะซี”
…………………………………….
อุปสรรค
อาจารย์ย้ำเสมอว่า
อุปสรรคสุดท้ายของการเข้าถึงพระเจ้า
คือ คำ “พระเจ้า”
สิ่งนี้สร้างความไม่พอใจ
ให้แก่สงฆ์ประจำท้องถิ่นเป็นอย่างมาก
จึงได้เดินทางมาพบอาจารย์
เพื่อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้
“แต่คำ “พระเจ้า” สามารถนำเรา
ไปถึงพระเจ้าได้ไม่ใช่หรือ?”
“ใช่” อาจารย์ตอบอย่างเยือกเย็น
แล้วทำไม สิ่งหนึ่งที่ช่วย
ในเวลาเดียวกันจึงกลับเป็นอุปสรรค?”
อาจารย์ตอบว่า
“ลามันพาท่านมาถึงหน้าประตูบ้านได้
แต่มันจะพาท่านเข้าบ้านไม่ได้”
…………………………………….
ความกล้า
ผู้มาเยือนคนหนึ่งผิดหวัง กล่าวว่า
“ทำไม การที่ผมอยู่ที่นี่
จึงไม่ได้เกิดผลอะไรบ้างเลย?”
อาจารย์ตอบอย่างอ่อนหวานว่า
“บางที
อาจจะเป็นเพราะเจ้า
ยังไม่กล้าที่จะเขย่าต้นแรงๆ นะซี”
…………………………………….
ตัวของตัวเอง
ศิษย์คนหนึ่งไปหาอาจารย์
เพื่อลาอาจารย์กลับไปบ้านประกอบธุรกิจ
และของที่ระลึกจากอาจารย์ด้วย
อาจารย์พูดกับเขาว่า
“จงครุ่นคิดรำพึงสามอย่างนี้
ไม่ใช่ไฟที่ร้อน
แต่เป็นเจ้าต่างหากที่รู้สึกเช่นนั้น
ไม่ใช่ตาที่เห็น
แต่เป็นเจ้าที่เห็น
ไม่ใช่วงเวียนที่วาดวงกลม
แต่นักวาดต่างหากที่วาด”
…………………………………….
ความอนิจจัง
เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่า
อาจารย์กำลังจะตาย
ศิษย์แสดงความปรารถนาจะจัดพิธีฝังศพ
ให้สง่าและสมเกียรติ
เมื่อได้ยินเช่นนั้น อาจารย์ก็กล่าวว่า
“เมื่อมีฟ้าและแผ่นดินเป็นโลงศพ
มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
และดวงดาวเป็นไฟประดับ
และมีสิ่งสร้างในธรรมชาติ
เข้าร่วมขบวนแห่ศพไปฝัง เช่นนี้แล้ว...
ฉันยังอยากจะมีอะไรยิ่งใหญ่
และสมเกียรติมากไปกว่านี้อีกหรือ?”
อาจารย์ขอร้องศิษย์ไม่ให้นำศพไปฝัง
แต่ศิษย์ไม่ยอม เกรงว่าศพอาจารย์
จะถูกสัตว์หรือนกมาแทะกิน
“ถ้าอย่างนั้น
พวกเจ้าจงวางไม้เท้าไว้ข้างๆ ตัวฉัน
ฉันจะได้ไว้ใช้ไล่สัตว์ไล่นก”
อาจารย์พูด พร้อมกับหัวเราะ
“ท่านจะทำได้อย่างไร
ในเมื่อท่านไม่รู้สึกตัวแล้ว?”
“ถ้าเช่นนั้น มันจะเป็นไรไป
ถ้านกและสัตว์จะมาแทะกินศพฉัน?”
…………………………………….
ความเสแสร้ง
เมื่อมีศิษย์ใหม่มาถึง
อาจารย์มักจะบอกว่า
“จงเคาะ
แล้วประตูก็จะเปิดออก”
ภายหลัง
อาจารย์จะกระซิบกับศิษย์บางคนว่า
“ประตูมันจะเปิดออกได้อย่างไร
ในเมื่อมันไม่เคยปิดเลย?”
…………………………………….
สูตร
“ท่านเสาะหาสิ่งใด?”
อาจารย์ถามผู้คงแก่เรียนคนหนึ่ง
ที่มาขอคำแนะนำจากอาจารย์
“ชีวิต” เขาตอบ
อาจารย์จึงพูดว่า
“ถ้าเจ้าอยากมีชีวิต
คำพูดต้องตายไป”
ภายหลังอาจารย์อธิบายให้ศิษย์ฟังว่า
“พวกเจ้ารู้สึกว้าเหว่และเดียวดาย
เพราะพวกเจ้าอาศัยอยู่ในโลกแห่งคำพูด
พวกเจ้าหล่อเลี้ยงตนด้วยคำพูด
และพึงพอใจอยู่แค่ในคำพูด
ทั้ง ๆ ที่ สิ่งที่พวกเจ้าต้องการมากกว่าหมด
คือสิ่งที่เป็นตัวเป็นตน
รายการอาหาร ไม่ทำให้พวกเจ้าอิ่มได้
สูตรต่างๆ ไม่อาจจะดับ
ความกระหายของพวกเจ้าได้เช่นกัน”
…………………………………….
ความศักดิ์สิทธิ์
ชายคนหนึ่ง มีชื่อเสียงในด้านชีวิตจิต
มาหาอาจารย์ กล่าวว่า
“ผมสวดไม่เป็น
ผมไม่เข้าใจข้อความในคัมภีร์
ผมทำในสิ่งที่ผมแนะให้คนอื่นฝึกฝนไม่ได้...”
อาจารย์ตอบด้วยสีหน้าชื่นชอบว่า
“ถ้าเช่นนั้น
จงละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง”
“จะให้ผมทิ้งได้อย่างไร
ในเมื่อคนอื่นต่างถือกันว่าผมเป็นนักบุญ
และผมมีลูกศิษย์มากมายเช่นนี้?”
อาจารย์ถอนหายใจพลางกล่าวว่า
“ความศักดิ์สิทธิ์ทุกวันนี้
เป็นเพียงชื่อ แต่ไม่มีจริง
ความศักดิ์สิทธิ์จะแท้จริง
ต่อเมื่อมีจริงโดยไม่ต้องมีชื่อ”
…………………………………….
ความจริงจัง
อาจารย์มักสอนศิษย์
ไม่ให้จริงจังกับอะไรมากจนเกินไป
แม้แต่กับคำสอนของอาจารย์ก็เถอะ
อาจารย์เล่าเรื่องเป็นตัวอย่างว่า
“ศิษย์คนแรกของฉันอ่อนแอมาก
จนกระทั่งการฝึกฝนต่างๆ
ทำให้เขาต้องสิ้นชีวิต
ศิษย์คนที่สอง(ต้องเสียสติไป)
เพราะฝึกฝนสิ่งที่ฉันสอนให้จริงจังเกินไป
ศิษย์คนที่สามปัญญาทึบไปเลย
เพราะเอาแต่พึงพิศเพ่ง
ส่วนคนที่สี่ปกติดีทุกอย่าง”
“ทำไมครับ?” ศิษย์คนหนึ่งถาม
“อาจจะเป็นเพราะว่า
เขาคงจะเป็นคนเดียว
ที่ไม่ได้ฝึกฝนสิ่งที่ฉันสอนให้”
อาจารย์ตอบ พร้อมกับหัวเราะชอบใจ
…………………………………….
ความโอ้อวด
อาจารย์เตือนศิษย์บ่อยๆ ว่า
“ความศักดิ์สิทธิ์นั้น
เหมือนกับความสวยความงาม
จะแท้จริงหากเจ้าตัวไม่รู้ตัว”
อาจารย์กล่าวเพิ่มว่า
“กุหลาบออกดอก
โดยไม่ถามว่าทำไม
หรือแย้มกลีบอวดสีสัน
โดยไม่คิดจะต้องตาใคร
นักบุญเป็นนักบุญ
ตราบใดที่ไม่รู้ว่าเป็น”
…………………………………….
การเล่าเรียน
แม้อาจารย์จะยังสงสัยในความรู้
และความเข้าใจต่อปัญหาที่เกี่ยวกับพระเจ้า
แต่อาจารย์จะให้การส่งเสริมศิลปะ
วิชาความรู้และวิธีเรียนรู้ทุกอย่าง
วันหนึ่ง อาจารย์ตอบรับที่จะไปปราศรัย
ให้แก่บัณฑิตใหม่ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
อาจารย์ตั้งใจไปถึงมหาวิทยาลัยก่อนเวลา
เพื่อจะได้เยี่ยมดูกิจการของมหาวิทยาลัย
อาจารย์แสดงความชื่นชอบออกนอกหน้า
เมื่อเห็นตัวอาคารที่ใช้เพื่อการศึกษา
ซึ่งไม่เคยมีในสมัยที่อาจารย์เรียนอยู่
เช่นเคย คำปราศรัยของอาจารย์
ยาวไม่ถึงนาที อาจารย์พูดว่า
“ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด
ห้องประชุม ห้องบรรยาย
ตลอดจนการสอนที่ทรงคุณวุฒิ...
จะมีประโยชน์อันใด
หากขาดดวงใจที่ฉลาด
และดวงตาที่รู้จักเห็น”
หายนะ
“หายนะอาจจะก่อให้เกิดการก้าวหน้า
และการรู้แจ้งได้เหมือนกัน”
อาจารย์กล่าว
แล้วอาจารย์อธิบายว่า
นกตัวหนึ่ง
อาศัยเกาะอยู่บนกิ่งของต้นไม้แห้งต้นหนึ่ง
ที่ยืนต้นอยู่โดดเดี่ยวในที่ราบแห้งแล้งอันกว้างใหญ่
วันหนึ่งเกิดพายุ
ลมแรงพัดต้นไม้ล้มลง
ทำให้นกตัวนั้นต้องบินไปหลายพันไมล์
เพื่อหาแหล่งที่พักอาศัยใหม่...
จนกระทั่งมันบินมาถึงป่าเขียวชอุ่ม
เต็มไปด้วยต้นไม้ผลนานาชนิด
อาจารย์กล่าวสรุปว่า
“ถ้าต้นไม้แห้งนั้นไม่ล้ม
นกตัวนั้นก็คงจะไม่คิดบินไปที่อื่น”
…………………………………….
ความรัก
“ความรักคืออะไร?”
“คือการไม่กลัว”
“กลัวสิ่งใด?”
“ความรัก” อาจารย์ตอบ
…………………………………….
มายา
อาจารย์สอนว่า การรู้แจ้ง
ไม่ได้มาด้วยการออกแรงพยายาม
แต่ด้วยความเข้าใจ
อาจารย์อธิบายว่า
“สมมุติว่าพวกเจ้าทุกคนถูกสะกดจิต
ให้เห็นว่ามีเสือตัวหนึ่งในห้อง
พวกเจ้าตกใจกลัว พยายามหนี
หรือไม่ก็พยายามจะฆ่าเสือ
เพื่อป้องกันตัว
หรือไม่ก็พยายามทำให้เสือเชื่อง
แต่เมื่อสิ้นสุดการสะกดจิตแล้ว
พวกเจ้าก็ไม่ต้องทำอะไร
และพวกเจ้าก็เปลี่ยนแปลงไปหมด
เช่นนี้แหละ
ความเข้าใจช่วยให้ออกจากภวังค์
การออกจากภวังค์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การนิ่งเฉย
ความนิ่งเฉยนี่แหละคือพลังอำนาจ
ที่ทำให้พวกเจ้าทำได้ทุกอย่างเพื่อโลก
เพราะไม่ใช่พวกเจ้าอีกต่อไปแล้วที่กระทำ”
…………………………………….
การชำระ
อาจารย์ชอบย้ำว่า
อาจารย์ไม่ได้สอนอะไร
และสิ่งที่อาจารย์ทำก็เป็นแต่ความว่างเปล่า
เช่นนี้ ศิษย์จึงเรียนรู้ทีละเล็กละน้อยว่า
ความฉลาดเกิด
ขึ้นกับคนที่ไม่ได้เรียนรู้อะไร
และการเปลี่ยนแปลง
ไม่ได้เป็นผลมาจากการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
แต่มาจากสิ่งที่สละไม่ทำ
…………………………………….
อัจฉริยะ
นักเขียนคนหนึ่งมาที่อาราม
เพื่อจะเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง
เกี่ยวกับตัวอาจารย์
“คนเขาลือกันว่า
ท่านเป็นอัจฉริยะจริงหรือเปล่า?” เขาถาม
“จริง” อาจารย์ตอบอย่างซื่อๆ
“อะไรทำให้คนเป็นอัจฉริยะ?”
“ความสามารถเล็งเห็น”
“เล็งเห็นอะไร?”
“เห็นผีเสื้อ ในตัวดักแด้
เห็นนกอินทรี ในไข่
เห็นนักบุญ ในคนที่ยังมีความเห็นแก่ตัวอยู่”
…………………………………….
มนุษยชาติ
มีการประชาสัมพันธ์ว่า
อาจารย์จะกล่าวปราศรัย
ถึงความพินาศของโลก
คนจำนวนมากมาชุมนุมกันบริเวณอาราม
เพื่อจะฟังคำปราศรัย
คำปราศรัยของอาจารย์
ยาวไม่ถึงหนึ่งนาที
อาจารย์กล่าวว่า
“สิ่งต่อไปนี้
เป็นสิ่งที่จะทำลาย (มนุษยชาติ)
กล่าวคือ
การเมืองที่ขาดหลักการ
ความก้าวหน้าที่ไม่มีความสงสารเห็นใจ
ความมั่งคั่งที่ไม่มีการงาน
การเรียนรู้ที่ขาดความเงียบ
ศาสนาที่ขาดความกล้า
และศาสนากิจที่ขาดจิตสำนึก”
…………………………………….
การรู้แจ้ง
“คนที่รู้แจ้ง เป็นคนประเภทไหน?”
อาจารย์ตอบว่า
“เป็นคนที่มีความสำนึกในสังคม
แต่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใดเฉพาะ
เขามุ่งเดินไปข้างหน้า
โดยไม่ยอมผูกพันกับเส้นทางใด
เขารับทุกสิ่งที่เข้ามาอย่างที่เป็น
เขาไม่เสียใจในอดีตที่ผ่านไป
หรือเป็นกังวลถึงอนาคต
เขาก้าวไปข้างหน้า เมื่อถูกผลัก
เขาตามไป เมื่อถูกดึง
เขาเป็นดังกระแสลมแรงกล้า
แต่ก็แผ่วเบาดังขนนก
ที่ปลิวอ่อนไปตามสายลม
หรือดังใบไม้แห้งที่ลอยไปตามกระแสน้ำ
เขาเป็นดังหินโม่ บดขยี้ทุกอย่าง
ให้ละเอียดเป็นผุยผง
เขารักทุกสิ่งในธรรมชาติ โดยไม่ลำเอียง
(เช่นที่) ฟ้าและแผ่นดิน ไม่ลำเอียงกับใคร...
ทั้งหมดนี้คือ ผลของการรู้แจ้ง”
เมื่อได้ยินดังนั้น ศิษย์อายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง
ก็โพล่งออกมาว่า
“คำสอนแบบนี้ เหมาะสำหรับคนตาย
มากกว่าสำหรับคนเป็น”
ว่าแล้วเขาก็จากไป
และไม่ได้กลับมาอีกเลย
…………………………………….
สารบัญ
อารัมบท
คำนำของผู้เขียน
อัศจรรย์
วัยผู้ใหญ่
ความอ่อนไหว
เหลวไหล
ความแจ่มชัด
ศาสนา
ชีวิตจิต
ตื่นเฝ้า
อยู่ที่นั่น
ความลึกซึ้ง
ความลึกล้ำภายใน
ภารกิจแต่ละคน
ความกลมกลืน
ความเข้าใจ
อดีต
เป็นอาจารย์
ดีขึ้น
ฝืนประเพณี
ความโง่เขลา
วิธีการซื่อๆ
ความสุข
การรำพึง
เท้าบนดิน
การพูด
ซุบซิบนินทา
ความวุ่นวาย
คุก
หนึ่งเดียวกัน
วินิจวิเคราะห์
กิจการ
ความเคารพ
ชะตากรรม
เกิดใหม่
ความฝัน
เปลี่ยนแปลง
ปฏิกิริยา
ปรัชญา
ศิษย์
ความบอดมืด
สื่อกลาง
ความอยู่รอด
หนังสือ
หลบซ่อน
ความไม่รุนแรง
ความวอกแวก
การรู้แจ้ง
เป็นหมัน
ไม่มีคำพูด
ไปถึง
วิวัฒนาการ
ความไม่รู้ตัว
ความรับผิดชอบ
อเทวะ
ลึกซึ้งภายใน
เลือกอะไร
ไม่อยากลำบาก
ปล่อยวาง
การแสดงออก
การค้นพบ
เริ่มจากตนเอง
การเรียนรู้
กลับใจ
สาเหตุ
การเร่ง
คาดคะเน
วิวัฒนาการ
เลียนแบบ
ที่พึ่งแห่งตน
ตัวเอง
ความสุภาพ
แสงสว่าง
การแผ่ขยาย
ความยิ่งใหญ่
ความผิด
ชีวิต
ท้าทาย
อุดมการณ์
ศีลธรรม
จินตนาการ
ความคิดเห็น
ความกลัว
ความสำนึกตน
การรู้แจ้ง
การไม่ติดใจ
ความแตกต่าง
สิ่งสร้าง
ความสุข
บ้าน
การเปลี่ยนแปลง
การเล็งเห็น
ความทุกข์
เป็นตัวตนเอง
ภูมิป้องกัน
ปริญญา
ความดี
คนธรรมดา
ความกระตือรือร้น
การนิ่งเฉย
ความฉลาด
ความรัก
ความมั่งคั่ง
บุญลาภ
สถานที่
ความตาย
ผจญภัย
ความไม่จีรัง
อิสระ
ขอบเขต
สถานภาพ
ธรรมชาติ
สวรรค์
การเข้าใจ
ความศักดิ์สิทธิ์
เสียง
ความคิด
ความรักกลมเกลียว
การอวยพร
บาป
การรักษาเยียวยา
ความจริง
ความเชื่อ
การสั่งสอน
ต้นกำเนิด
ตัวฉัน
พระเจ้า
พูดถึงพระเจ้า
แก่นสาร
ความเงียบ
กิจการ
ชีวิตจิต
สิ่งภายนอก
ความศักดิ์สิทธิ์
ความใจดี
การยอมรับ
ความคิด
การรู้แจ้ง
เกินเอื้อม
คำพูด
การรำพึง
ทางสายกลาง
การขัดแย้ง
นักบุญ
พระเท็จเทียม
พืชผล
การเปลี่ยนแปลง
ประสบการณ์พระ
ขุมทรัพย์ซ่อนเร้น
อัศจรรย์
การหลอกลวง
แก้ที่ตน
การตัดสิน
ความแจ่มใส
การเรียนรู้
การรู้แจ้ง
การพัฒนา
ความผิวเผิน
การรำพึง
การรำพึง
ความพยายาม
ชีวิต
การเลือก
พระเจ้า
พิสูจน์
ความก้าวหน้า
หนังสือ
ความแก่
ศาสนา
การเติบโต
ความเหมาะสม
คำจำกัดความ
ชีวิต
การเรียกร้อง
การวิพากษ์วิจารณ์
พระเจ้า
การเบียดเบียน
รู้จักฟัง
การเติบโต
ความฉลาด
ตนเอง
ความเงียบ
ชีวิตแห่งการรู้แจ้ง
ศิลปะ
ความสันโดษ
สงสัย
ตามสัดส่วน
การสั่งสอน
คำภาวนา
ศิษย์ที่ดี
ความพยายาม
ความกังวลใจ
การโอ้อวด
การปฏิรูป
ความปรารถนา
ความยิ่งใหญ่
อุปสรรค
ความกล้า
ตัวของตัวเอง
ความอนิจจัง
ความเสแสร้ง
สูตร
ความศักดิ์สิทธิ์
ความจริงจัง
ความโอ้อวด
การเล่าเรียน
หายนะ
ความรัก
มายา
การชำระ
อัจฉริยะ
มนุษยชาติ
การรู้แจ้ง
สารบัญ