؊صاشؕ؈شؕ؋زـإـ؋صآؙ


؊صاشؕ؈شؕ؋زـإـ؋صآؙ

ชีวิตจิตซาเลเซียน


ชีวิตจิตคือ*1

ชีวิตนักบวชที่หยั่งรากลึกลงไปในแบบอย่างและคำสอนของพระคริสตเจ้าเป็นของขวัญที่พระเจ้ามอบแก่พระศาสนจักรโดยทางพระจิตเจ้า (Vita Consecrata 1)

นักบวช โดยกระแสเรียก เป็น “ของขวัญ” ของพระเจ้าแก่พระศาสนจักรด้วยการ “เป็น” ก่อนอื่นหมด กล่าวคือ นักบวชเป็นเหมือนพระคริสตเจ้าทรงเป็นและสอดคล้องกับสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงสอน

นี่คือชีวิตแห่งการติดตามพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิด

นี่คือชีวิตจิตของคริสตชน นี่คือชีวิตจิตของนักบวช

ชีวิตจิตจึงเป็นการดำเนินชีวิตเหมือนที่พระคริสตเจ้าทรงดำเนินทั้งในการเป็นอยู่และในความสัมพันธ์กับพระเจ้าและผู้อื่น

ใน “ความเป็นอยู่” นั้น ก่อนอื่น นักบวชทำให้การรับเอากายของพระเยซูเจ้ากลับเป็นความจริงในชีวิตของตน

เมื่อพระเยซูเจ้าทรงรับเอากาย พระองค์ทรงรวมธรรมชาติพระเจ้าเข้ากับธรรมชาติมนุษย์ได้อย่างกลมกลืน ธรรมชาติมนุษย์ในตัวพระเยซูเจ้าไม่ได้ลดน้อยลงหรือถูกเปลี่ยนแปลงไปแต่ได้รับการเสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์ขึ้น

ตั้งแต่ที่มนุษย์ถูกสร้าง เขามีความสำนึกในศักดิ์ศรีที่เขามีเหนือสิ่งสร้างทั้งหลาย นั่นคือ เขาถูกสร้างให้เป็นฉายาลักษณ์หรือรูปเหมือนของพระเจ้า “ให้เราสร้างมนุษย์ตามรูปแบบของเราละคล้ายคลึงเรา…ดังนั้นพระเจ้าทางสร้างมนุษย์ ทำให้มนุษย์เหมือนพระองค์” (ปฐก 2,26-27)

มนุษย์ตระหนักใจในศักดิ์ศรีนี้มาก ถึงขนาดใฝ่ฝันที่จะเป็นพระเจ้า เปลี่ยนจากการอ่อนน้อมต่อพระประสงค์ของพระเจ้าไปสู่การเอาใจตนเป็นใหญ่ เลือกทำในสิ่งที่ตนต้องการและไม่คำนึงถึงพระประสงค์ของพระเจ้า

นั่นคือที่มีของบาปแรกของมนุษย์

และนี่คือที่มาของบาปทั้งหลาย

เมื่อมนุษย์ยึดเอาตนเองเป็นหลัก มนุษย์ก็ตัดสินคุณค่าของทุกอย่างตามที่ตนคิด และไม่ใช่อย่างที่พระเจ้าทรงกำหนด

1

▲back to top

1.1 ความถูกต้องจึงเปลี่ยนไปเป็นความถูกใจ

▲back to top

มาตรฐานของความคิดและการตัดสินใจจึงมักจะคล้อยไปตามความต้องการของมนุษย์เป็นหลัก

การแสดงออกของชีวิตจิตอย่างแรกคือการทำให้ธรรมชาติของมนุษย์อ่อนน้อมต่อธรรมชาติแห่งพระเจ้าในตัวมนุษย์นั่นเอง ดังที่เป็นในตัวพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นมนุษย์ครบครัน

ตลอดชีวิตของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงยอมให้พระประสงค์ของพระเจ้าเป็นใหญ่ ทรงดำเนินชีวิตและกระทำทุกอย่างตามพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า “เราลงมาจากสวรรค์มิใช่เพื่อทำตามใจของเรา แต่เพื่อทำตามพระประสงค์ของผู้ที่ส่งเรามา” (ยน 6,38)

การไถ่กู้มนุษย์ให้พ้นจากการเป็นทาสของบาปเริ่มต้นจากการที่พระเยซูเจ้าทรงทำให้น้ำใจมนุษย์อ่อนน้อมต่อพระประสงค์ของพระเจ้าในตัวพระองค์ก่อนอื่นหมด การไถ่กู้จึงเข้าไปถึงรากเง่าของบาปที่มนุษย์ทำนั่นเอง

พันธกิจแห่งการไถ่กู้ของพระเยซูเจ้าเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ตามแผนการแห่งการไถ่กู้ของพระบิดาเจ้า แต่กว่าที่จะมาถึงจุดนี้ พระเยซูเจ้ายังต้องต่อสู้กับความขัดแย้งระหว่างน้ำใจของพระองค์และพระประสงค์ของพระบิดาเจ้าอย่างรุนแรงซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า “พระบิดาเจ้าข้า พระองค์ทรงทำทุกสิ่งได้ โปรดทรงเอาถ้วยนี้ไปจากข้าพเจ้า อย่างให้เป็นไปตามน้ำใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด” (มก 14, 36)

พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ก่อนที่จะถูกตรงกางเขนเสียอีก กล่าวคือ ทรงตายจากพระองค์เอง ตายจากน้ำใจของพระองค์ จนพร้อมที่จะทำตามพระประสงค์ของพระบิดาแม้ในสิ่งที่ยากที่สุด

การดำเนินชีวิตจิตด้วยการทำให้ความเป็นอยู่คล้อยตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้าก็คือ การยอมตายจากน้ำใจของเราเพื่อให้น้ำพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นใหญ่ในชีวิตและการกระทำของเรา นั่นเอง

การเดินในเส้นทางชีวิตจิตเป็นไปไม่ได้หากยังไม่มีความพร้อมที่จะตายพร้อมกับพระเยซูเจ้าในแต่ละวัน เพื่อกลับเป็นขึ้นมาใหม่พร้อมกับพระองค์… ชีวิตที่เสาะหา วินิจฉัย และทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ตามแบบฉบับของพระเยซูเจ้า

เพื่อทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงภาวนาขอจากพระบิดาเจ้า ในแง่หนึ่งก็เป็นการบ่งบอกเป็นนัยว่า เพื่อจะทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้า ในเมื่อการทำตามใจนั้นฝังรากลึกลงในธรรมชาติมนุษย์จนยากที่จะเปลี่ยนแปลงหรือจัดการได้ โดยเฉพาะในเรื่องที่สำคัญ พลังจากพระเจ้าจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเหตุนี้เองพระเยซูเจ้าจึงใส่คำขอนี้ลงไว้ในบทภาวนาที่พระองค์ทรงสอนให้ศิษย์สวด “…พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์…” (มธ 6,10)


พระประสงค์ของพระเจ้าไม่อยู่ในการทำตามที่พระองค์ทรงต้องการให้เราทำเท่านั้น แต่หมายถึงการดำเนินชีวิตและการกระทำในรูปแบบที่พระองค์ทรงประสงค์ให้เราดำเนินชีวิตและทำด้วย

มีประโยคหนึ่งที่พูดถึงพระเยซูเจ้าซึ่งสามารถสรุปชีวิตของพระองค์ได้อย่างดียิ่ง นั่นคือ “คนคนนี้ทำสิ่งใดดีทั้งนั้น” (มก 7,37)

ชีวิตจิตจึงเป็นการดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า ไปที่ไหนก็ทำแต่ความดี ทำอะไรก็ทำอย่างดีจนกระทั่งเกิดความดีขึ้นรอบข้าง

ความดีที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความดีที่มีและที่เป็นอยู่ในตัว “การเป็น” ที่นำไปสู่ “การกระทำ” หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งกระทำตามสิ่งที่เป็น

อันตรายอย่างหนึ่งของการเน้นการ “ทำ” มากกว่าการ “เป็น” คือ แทนที่จะทำตามที่เป็น กลายเป็นการเป็นตามที่ทำแล้วก็วัดผลการ “เป็น” จากการ “ทำ” ในที่สุด

ทุกสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำเกิดมาจากสิ่งที่พระองค์ทรงเป็น

ในการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ พระเยซูเจ้าทรงมีแนวปฏิบัติของพระองค์ที่ชัดเจน “เรามีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน” (มธ 11,29)

ในการกระทำทุกอย่างนั้น พระองค์มีแรงจูงใจมาจากความรักและความสงสารที่ทรงมีต่อทุกคน “เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นประชาชน ก็ทรงสงสาร…” (มธ 9,36) “พระเยซูเจ้าทรงสงสารตื้นตันพระทัย จึงทรงยื่นพระหัตถ์สัมผัสเขา ตรัสว่า ‘เราพอใจ จงหายเถิด’…” (มก 1,41) “เมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเห็นนางก็ทรงสงสารและตรัสกับนางว่า ‘อย่าร้องไห้ไปเลย’…” (ลก 7,13)

เราอาจจะพูดได้ว่า อัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าทรงทำนั้น เป็นผลจากอัศจรรย์แห่งความรักที่พระองค์ทรงมีต่อมนุษย์นั่นเอง


นักบวชเป็นเหมือนพระคริสตเจ้าเป็นและสอดคล้องกับสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงสอนได้หากรู้จักพระองค์และคำสอนของพระองค์

นักบุญเยโรมแนะว่า เราจะรู้จักพระเยซูเจ้าได้ก็โดยทางพระคัมภีร์

พระคัมภีร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวรสารคือหนังสือชีวิตจิตและเป็นแหล่งที่มาของหนังสือชีวิตจิตทั้งหลาย .



*1* Juan Vecchi - บรรณาธิการ